1.นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ/แนวข้อสอบ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

अब Quizwiz के साथ अपने होमवर्क और परीक्षाओं को एस करें!

การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐตามข้อใด

ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า

การดําเนินการทางวินัยต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามข้อใด

ความยุติธรรมและปราศจากอคติ

ในกรณีที่ ก.พ. เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใดที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือบางประเภทควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน ให้ ก.พ. กระทําการตามข้อใด

จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างผู้แทน ก.พ. ผู้แทน ก.พ.ร. และผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ให้ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ โดยคำแนะนำและยินยอมของใคร

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

การสั่งพักราชการ ให้สั่งพักอย่างไร

สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา

ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเนื่องจากข้อใด

ภาวะเศรษฐกิจ

ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ผู้ใดกำหนด

อ.ก.พ.กระทรวง

ข้อใดเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

(๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (๔) กระทําการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๕) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ข่มเหง หรือทําร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (๖) กระทําความผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ละเว้นการกระทําหรือกระทําการใดๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ละเว้นการกระทําหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๐ วรรคสอง

กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา อาจถูกคัดค้านได้ในกรณีใดบ้าง

(๑) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว (๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ (๔) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์

โทษทางวินัยสถานที่เบาที่สุดคือข้อใด

ภาคทัณฑ์

กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ให้อยู่ในตําแหน่งได้คราวละกี่ปี

3 ปี

การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ต้องคํานึงถึงข้อใด

1.ความรู้ความสามารถของบุคคล 2.ความเสมอภาค 3.ความเป็นธรรม 4.ประโยชน์ของทางราชการ

ตําแหน่งประเภทอํานวยการของข้าราชการพลเรือน ได้แก่ข้อใด

1.ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม 2.ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอํานวยการ

ตําแหน่งประเภทบริหารของข้าราชการพลเรือน ได้แก่ข้อใด

1.ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม 2.ตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม 3.ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร

ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งพิเศษตามข้อใด

1.ตําแหน่งที่ประจําอยู่ในต่างประเทศ 2.ตําแหน่งในบางท้องที่ 3.ตําแหน่งในบางสายงาน 4.ตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

ข้าราชการพลเรือน มีกี่ประเภท

2 ประเภท 1.ข้าราชการพลเรือนสามัญ 2.ข้าราชการพลเรือนในพระองค์

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่าในขณะรับราชการได้กระทําความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคําสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดําเนินการทางวินัยมีคําวินิจฉัยถึงที่สุด หรือมีมติให้เพิกถอนคําสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดําเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอํานาจดําเนินการทางวินัยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกี่ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด

2 ปี

หากมีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ผู้บังคับบัญชาจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปเป็นเวลาไม่เกินกี่ปี

2 ปี

ตําแหน่งประเภทบริหารของข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ระดับ

2 ระดับ 1.ระดับต้น 2.ระดับสูง

ตําแหน่งประเภทอํานวยการของข้าราชการพลเรือนสามัญ มีกี่ระดับ

2 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับต้น 2.ระดับสูง

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่าขณะรับราชการได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน สอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่าในขณะรับราชการได้กระทําความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอํานาจดําเนินการทางวินัยมีอํานาจดําเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดําเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในกี่ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ

3 ปี

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่ากี่วัน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก

30 วัน

เมื่อตําแหน่งกรรมการใน ก.พ. ว่างลงก่อนกำหนด ให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดกี่วัน

30 วัน

ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตําแหน่งทางการเมือง หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าไม่น้อยกว่ากี่วัน

30 วัน

ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ประเภท

4 ประเภท 1.ตำแหน่งประเภทบริหาร 2.ตำแหน่งประเภทอำนวยการ 3.ตำแหน่งประเภทวิชาการ 4.ตำแหน่งประเภททั่วไป

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร จะต้องปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบกี่ปี ผู้บังคับบัญชาจึงจะมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เพื่อดําเนินการให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่นได้

4 ปี

ตําแหน่งประเภททั่วไปของข้าราชการพลเรือนสามัญ มีกี่ระดับ

4 ระดับ 1.ระดับปฏิบัติงาน 2.ระดับชำนาญงาน 3.ระดับอาวุโส 4.ระดับทักษะพิเศษ

ตําแหน่งประเภทวิชาการของข้าราชการพลเรือนสามัญ มีกี่ระดับ

5 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับปฏิบัติการ 2.ระดับชำนาญการ 3.ระดับชำนาญการพิเศษ 4.ระดับเชี่ยวชาญ 5.ระดับทรงคุณวุฒิ

โทษทางวินัยมีกี่สถาน

5 สถาน 1.ภาคทัณฑ์ 2.ตัดเงินเดือน 3.ลดเงินเดือน 4.ปลดออก 5.ไล่ออก

กรรมการ ก.พ.ค. มีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี นับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้กี่วาระ

6 ปี 1 วาระ

คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดกี่คน

7 คน

ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินกี่วัน นับแต่วันขอลาออกก็ได้

90 วัน

การดําเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของผู้ใด

ก.พ.

การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้ใดกำหนด

ก.พ.

ผู้ใดเป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดทํามาตรฐานกำหนดตําแหน่ง โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน

ก.พ.

ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่าอะไร

ก.พ.ค.

การจ่ายเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งให้ข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด โดยความเห็นชอบของผู้ใด

กระทรวงการคลัง

ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งพิเศษและจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใด

กระทรวงการคลัง

ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 "ข้าราชการฝ่ายพลเรือน" หมายความตามข้อใด

ข้าราชการพลเรือนและข้าราชการอื่นในกระทรวง/กรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น

ผู้ใดมีอํานาจพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นตํ่า ขั้นสูง หรือเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจําเป็นได้

คณะรัฐมนตรี

เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจําเป็น การปรับเงินเดือนหรือเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ใดกำหนด

คณะรัฐมนตรี

ในกรณีที่ศาลปกครองมีคําพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคําสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. โดยความเห็นชอบของผู้ใดในการสั่งการตามสมควร เพื่อเยียวยาและแก้ไข หรือดําเนินการตามที่เห็นสมควรได้

คณะรัฐมนตรี

วันเวลาทํางาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจําปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปโดยกำหนดตามข้อใด

คณะรัฐมนตรีกำหนด

ข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่ออายุครบกี่ปีในสิ้นปีงบประมาณ จะต้องเกษียณอายุราชการ และหากทางราชการมีความจําเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการ หรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวในตําแหน่ง จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินกี่ปี

ครบ 60 ปีบริบูรณ์ และต่อไปอีกไม่เกิน 10 ปี

การลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ทําในรูปแบบใด

คําสั่ง

ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง เมื่อคําสั่งนั้นเป็นคําสั่งอย่างใด

ชอบด้วยกฎหมายและถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ

พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ใช้บังคับเมื่อใด

ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามข้อใด

ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.

หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดําเนินการเพื่อให้เป็นไป ผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามกำหนดในข้อใด

ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.

การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญจากกระทรวงหรือกรมหนึ่ง ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างประเทศสังกัดอีกกระทรวงหรือกรมหนึ่งเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้กระทําได้ตามข้อใด

ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ กำหนด

ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (๓) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (๔) ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคําสั่งนั้นจะทําให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันที เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคําสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (๕) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (๖) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (๗) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ (๘) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๙) ต้องวางตนเป็นกลางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย (๑๐) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตําแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย (๑๑) กระทําการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ... ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่กระทําการอันเป็นข้อปฏิบัติตามมาตรา 82 นี้ จะมีผลตามกฎหมายในพระราชบัญญัตินี้อย่างไร

ถือว่าข้าราชการผู้นั้นกระทําผิดวินัย

ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทําการใดอันเป็นข้อห้ามดังต่อไปนี้ (๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (๒) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทําการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทําหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (๓) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตําแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (๔) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (๕) ต้องไม่กระทําการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทําการหาผลประโยชน์อันอาจทําให้เสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตําแหน่งหน้าที่ราชการของตน (๖) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดํารงตําแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (๗) ต้องไม่กระทําการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (๘) ต้องไม่กระทําการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๙) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (๑๐) ไม่กระทําการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําการอันเป็นข้อห้ามตามมาตรา 83 นี้ จะมีผลตามกฎหมายในพระราชบัญญัตินี้อย่างไร

ถือว่าข้าราชการผู้นั้นกระทําผิดวินัย

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ จะมีผลตามกฎหมายในพระราชบัญญัตินี้อย่างไร

ถือว่าข้าราชการผู้นั้นกระทําผิดวินัย

ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่า กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อ ก.พ. ได้แจ้งให้กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวดําเนินการแก้ไขยกเลิก หรือยุติการดําเนินการนั้นภายในเวลาที่กำหนดแล้ว แต่บุคคลดังกล่าวไม่ดําเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้งนี้ จะมีผลตามกฎหมายอย่างไร

ถือเป็นการผิดวินัย

ผู้ใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

นายกรัฐมนตรี

ผู้ใดเป็นประธานในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ผู้ใดเป็นประธานใน"อ.ก.พ.จังหวัด"

ผู้ว่าราชการจังหวัด

ในพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 "ข้าราชการพลเรือน" หมายความตามข้อใด

บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง/กรมฝ่ายพลเรือน

ผู้ใดเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค.

ประธานศาลปกครองสูงสุด

กรณีทั่วไป หากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างไร

ปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี

สําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกันที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้ผู้ใดเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน

ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แล้วแต่กรณี

การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตําแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม โดยพิจารณาจากสิ่งใดเป็นอันดับแรก

ผลงาน

ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างใด เพื่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดํารงตนเป็นข้าราชการที่ดี

ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม และเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัย และปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชามีอํานาจอย่างใด

พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีในกฎ ก.พ. และจะให้บำเน็จความชอบอย่างอื่น ซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลด้วยก็ได้

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคําในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการอันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจตามข้อใด

พิจารณาให้บําเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ

ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจําส่วนราชการเป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. อันเนื่องมาจากข้อใด

มีเหตุผลและความจําเป็น

ผู้ใดเป็นประธานใน"อ.ก.พ.กระทรวง"

รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด 9 การอุทธรณ์ได้ ผู้นั้นมีสิทธิตามข้อใด

ร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกลงโทษให้ปลดออก ให้มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นเป็นอย่างไร

ลาออกจากราชการ

ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยอย่างไร

สั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด และต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและปราศจากอคติ โดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและตามมาตราใด

ถ้าผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ไม่ตํ่ากว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชามีอํานาจสั่งอย่างไร

สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป

ผู้ใดเป็นประธานใน"อ.ก.พ.กรม"

อธิบดีกรม

ข้อใดไม่ใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตําแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น(เป็นข้อห้าม ไม่ใช่ความผิดวินัยร้ายแรง)

ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญเรียกโดยย่อว่า "อ.ก.พ.วิสามัญ" เพื่อทําการตามข้อใด

เพื่อทําการใดๆแทนได้

ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญ เรียกโดยย่อว่า"อ.ก.พ.สามัญ" เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อใด

เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่างๆ

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการ ว่าในขณะรับราชการได้กระทําความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง จะต้องปฏิบัติอย่างไร

ให้งดโทษ

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ผู้บังคับบัญชามีอํานาจอย่างไร

ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเน็จบำนาญ หรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้ปฏิบัติอย่างไรเป็นอันดับแรก

ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ

ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตําแหน่ง หน้าที่ และขาดจากอัตราเงินเดือนในตําแหน่งเดิม โดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน โดยมีระยะเวลาตามที่ ก.พ. กำหนดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ได้ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็น

การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ตํ่ากว่าเดิมจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมตามข้อใด

ได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น

โทษทางวินัยที่รุนแรงที่สุดคือสถานใด

ไล่ออก


संबंधित स्टडी सेट्स

Chapter 2 - Understanding the Sky

View Set

Biomechanics of Sport and Exercise Chapter One: Forces

View Set

Combo with "IS 300 ch.6 Network" and 1 other

View Set

Chemistry , Chp.7, Chemical quantities & reactions

View Set

Distributed Ledger / Blockchain / Cryptocurrency

View Set

Chapter 1-B: Characteristics of Insurance Contracts

View Set