1.การทำให้ปราศจากเชื้อ

Lakukan tugas rumah & ujian kamu dengan baik sekarang menggunakan Quizwiz!

F value คือ? มีความสำคัญยังไง

(Sterilization process equivalent time) คือ เวลาที่ผลิตภัณฑ์นั้นสัมผัสกับความร้อนที่เทียบเท่ากับความร้อนที่ อุณหภูมิ 121°C (สําหรับความ ร้อนชื้น) หรือที่อุณหภูมิ 170°C (สําหรับความร้อนแห้ง) เมื่อกําหนดให้ Z value ของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นเท่ากับ 10°C (ความร้อนชื้น) หรือ 20°C (ความร้อนแห้ง) ตามลําดับ มีความสําคัญกรณีที่ product เราไม่ได้ทนความร้อนมาก การ Design F value ให้ปริมาณพอดีกับ การทําให้ปราศจากเชื้อ ไม่มากเกินไป จึงเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิด degrade product จากความร้อน และ ยังประหยัดเวลาและพลังงานอีกด้วย

Z value คือ

(Thermal destruction value) คือ อุณหภูมิที่เพิ่มข้ึนเพื่อท่ีจะให้ค่า D value ลดลง 90% หรือ 1 log unit (แปลง่ายๆได้ว่า ค่าอุณหภูมิท่ีเพ่ิมขึ้น จนทําให้เวลาที่ใช้ฆ่าเชื้อลดลงไป 10 เท่า)

การทําให้ปราศจากเชื้อด้วยก๊าซ ใช้แก๊สอะไร? คุณสมบัติอย่างไร? กลไกฆ่าเชื้อ? ใช้วิธีนี้กับอะไร? ปัจจัยสําคัญต่อประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ? ข้อควรระวัง?

- Ethylene oxide gas ที่ room temp จะเป็น ก๊าซ เป็น alkylating agent อยู่เดี่ยวๆติดไฟได้ ดังนั้นต้องผสมกับก๊าซเฉื่อย - กลไก: ก๊าซจะไป alkylating กับ metabolite สําคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ (-SH, -NH2, -COOH, -OH) - นิยมใช้ฆ่าเชื้อวัสดุที่ทําจากพลาสติก ยาง เหล็ก เช่น ก้านสําลี forceps เข็มฉีดยา ถ้าเป็นยาจะใช้ได้เฉพาะ รูปผงแห้ง เพราะอาจเกิด alkylation กับยาในรูปของเหลวได้ - ข้อควรระวัง ความเป็นพิษของสิ่งตกค้างภายหลังการฆ่าเชื้อ o ควรทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อนนําไปใช้ ประมาณ 24 ชม. o พลาสติก (PVC) ประมาณ 7 วัน - ปัจจัยสําคัญต่อประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ 1. อุณหภูมิ: ทําให้ฆ่าเชื้อดีขึ้น โดยทั่วไป 55 ํC 2. ความชื้น: ทําให้เกิดปฏิกิริยาดีขึ้น 3. ความเข้มข้นของก๊าซ: ขึ้นกับชนิดของก๊าซ 4. ระยะเวลาในการสัมผัสของก๊าซ

ความหมายของ Validation และ Calibration เกี่ยวข้องกันยังไง การ validate ทุกหัวข้อต้องผ่านติดต่อกันกี่ครั้ง

- การตรวจสอบความถูกต้อง (Validation): พิสูจน์ว่ากระบวนการนั้นๆสามารถทํางานได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ต้องการ - การสอบเทียบ (Calibration): การทําให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน ก่อนทํา Validation จะต้องมีการทํา Calibration อุปกรณ์การตรวจสอบต่างๆที่ใช้ในการวัดค่าที่ต้องการ - การ validate ทุกหัวข้อต้องผ่านติดต่อกัน 3 ครั้ง

ค่า D value เป็นค่าจําเพาะขึ้นกับ

- จุลินทรีย์แต่ละชนิด - สภาวะแวดล้อมแต่ละชนิดที่จุลินทรีย์นั้นอยู่ (medium) เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มี dextrose เชื้อจะเจริญดี ฆ่ายาก - สภาวะจําเพาะของการฆ่าเชื้อแต่ละวิธี (sterilization method) - อุณหภูมิ

Heat penetration studies (การศึกษาการซึมผ่านของความร้อน) จะมีหลักการในการศึกษายังไง , ทำเพื่ออะไร

- ต้องทํา Container mapping studies (ขวดบรรจุ >100 mL) โดยการเสียบ probe ลงไปบน กลาง ล่าง แล้วบันทึกอุณหภูมิเอาไว้ ดูว่า จุดไหนมีอุณหภูมิ ต่ําที่สุด ให้ยึดจุดนั้นเป็นตําแหน่งที่ใช้วัดอุณหภูมิในการทํา Heat penetration studies - เพื่อจะได้รู้ว่าตําแหน่งที่ได้รับความร้อนน้อยที่สุด (the coolest item) จะได้รับความร้อน เพียงพอที่ทําให้ปราศจากเชื้อและเราจะรู้ด้วยว่าตําแหน่งที่อุณหภูมิสูงสุดหรือร้อนที่สุด ผลิตภัณฑ์มีการเสื่อมสลายมั้ย - ทำเป็น Temperature-time profile monitoring - หลังจากที่เราทํา Heat penetration studies ผ่าน คือ Design F0 value ≥ Minimum F0จึง มาทํา Microbial challenge

การใช้แสงอัลตราไวโอเลต (UV light) คุณสมบัติอะไร ใช้ตอนไหน

- มีอํานาจการแทรกซึมต่ํา -ใช้ใน Pass box, ตู้ laminar ที่มีหลอดไฟ UV ฆ่าเชื้อได้ที่พื้นผิว แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อที่ผลิตภัณฑ์ - %Transmission ต่ํามาก ถ้าของเหลวเป็นของเหลวที่ขุ่นเช่น นม น้ําขุ่น - ความเข้มแสงยังขึ้นกับระยะทาง - ดังนั้นเราจะไม่ใช้ UV ฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์

การศึกษาการกระจายความร้อน (Heat distribution studies) ต้องวาง probe แบบใด? ใช้กี่ probe? มีกี่ step? criteria?

- วางที่ cold spot โดยต้องไม่สัมผัสกับพื้นผนังของ autoclave เพราะจะไม่ใช่อุณหภูมิของอากาศที่อยู่ในchamber - 10 probes + 2 probes (internal references) - 2 steps 1) Empty autoclave (เปล่าๆไม่มีของ): ติด probe ภายใน chamber ศึกษาความ สม่ําเสมอของอุณหภูมิใน empty chamber ของ autoclave 2) Loaded autoclave (ใส่ของ): ติด probe ที่ขวด ศึกษาความสม่ําเสมอของอุณหภูมิ โดยคิดถึง load configuration กับ load size คือมีผลจากการเรียง (load pattern) + จํานวนของที่ใส่เข้าไป (min+max) Criteria: จุดที่เย็นที่สุดต้องแตกต่างจากอุณหภูมิเฉลี่ยของทุก probe ไม่เกิน ±2.5 o C จึงจะบอกได้ว่าการกระจายความร้อนสม่ําเสมอ ถ้าไม่ผ่านต้องคิดว่า load แน่นไปมั้ย ต้องปรับปรุง

ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนขึ้นกับอะไรบ้าง

- อุณหภูมิ - ระยะเวลาการสัมผัสกับความร้อน - ปริมาณความชื้นที่มีอยู่ : ยิ่งปริมาณความชื้นสูง อุณหภูมิที่ใช้ในการทําให้ปราศจากเชื้อก็จะลดลง ตัวอย่างเช่น การทําให้ปราศจากเชื้อโดยความร้อนแห้ง ต้องใช้ 170 - 180 °C แต่หากใช้ ความร้อนชื้น อุณหภูมิที่ใช้จะลดลงเหลือ 121 °C

กลไกการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยใช้ความร้อนมี่กี่กลไก

- เกิดการ coagulation ของโปรตีนในเชื้อจุลชีพ ทําให้แบ่งเซลล์ไม่ได้และตายไป - เกิดการ oxidation ที่อุณหภูมิสูงๆ

คุณสมบัติ, ข้อดี ข้อควรระวังของการทําให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนชื้น moist heat sterilization

- เป็นการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ําอิ่มตัวภายใต้ความดันสูง (autoclaving) - เหมาะกับยาฉีดที่เป็นสารละลายที่มีน้ําอยู่และตัวยามีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง อย่างน้อยต้องทนที่ 121 oC ได้ แต่จะไม่เท่ากับความร้อนแห้ง - ใช้วิธีนี้ไม่ได้กับยาฉีดที่ไม่มีน้ํา เช่นผงแห้งหรือน้ํามัน - ใช้กับยาง/glassware ได้ แต่ต้องปิดไม่สนิทเพื่อให้ความชื้นเข้าไปฆ่าเชื้อข้างในได้ - ประสิทธิภาพดีกว่าใช้ความร้อนแห้ง เพราะ มีพลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะที่อุณหภูมิเดียวกัน(ความร้อนแฝง)ของการกลายเป็นไอ คือ จากไอน้ํา(แก๊ส)เป็นน้ํา อยู่มาก ดังนั้น การเพิ่มอุณหภูมิ 1องศา ของความร้อนชื้น มีประสิทธิภาพในการทําให้ปราศจากเชื้อสูงกว่าการเพิ่มอุณหภูมิ 1 องศาของความร้อนแห้ง - ข้อควรระวังคือจะทําให้อุปกรณ์เปียก ทําให้มีน้ําค้างอยู่ภายใน อาจทําให้เกิด dilution effect ได้

การฆ่าเชื้อด้วยรังสีใช้รังสีอะไร? หลักการที่ทำให้ฆ่าเชื้อได้?หน่วยคือ? ใช้ฆ่าเชื้ออะไร? ข้อดี และข้อจำกัด

- ใช้ Gamma ray - หลักการคือมีอํานาจการแทรกซึมสูง มีพลังงานสูง พอรังสีไปโดนอะตอมของสสารในเชื้อ ทําให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน ทําให้เชื้อไม่สามารถเติบโตได้ - หน่วยกิโลเกรย์, KGy - ใช้ในภาชนะบรรจุเสร็จในหีบห่อเรียบร้อย เช่น อาหาร/สมุนไพร ข้อดีคือ - ไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ ความดัน ความชื้น - ของที่จะฆ่าเชื้ออยู่ในรูปบรรจุหีบห่อเสร็จแล้ว เช่น เข็ม - เหมาะกับสิ่งของที่ไวต่อความร้อน พวกเครื่องมือพลาสติก ยาแห้งบางชนิด ข้อจำกัด ห้ามใช้กับของเหลว, ขวดแก้วเพราะจะทําให้เกิดการเปลี่ยนสีหลังฆ่าเชื้อ - จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการทดสอบและยืนยันก่อนว่า การใช้รังสีไม่มีผลต่อการสลายตัวของผลิตภัณฑ์

ปัจจัยจากผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อการทําให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ความร้อน มีอะไรบ้าง

1. Concentration of electrolyte มีผลได้ 2. pH 3. ตัวยา - ตัวยาสําคัญที่มีฤทธิ์ antimicrobial อยู่แล้ว จะใช้เวลาทําให้ปราศจากเชื้อลดลง เช่น ciprofloxacin 4. preservative 5. Protective substance - มีความสําคัญ ถ้าสารละลาย dextrose เข้มข้น ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการทําให้ปราศจากเชื้อเพิ่มขึ้น 6. Bioburden - การที่ bioburden เพิ่มขึ้น อาจจะทําให้การฆ่าเชื้อด้วย condition เดิมที่เราเคยทํา ไม่ สามารถทําให้ปราศจากเชื้อได้เหมือนเดิม ดังนั้นเราจึงต้องมีการคุมคุณภาพ cleanroom จํากัดจํานวนบุคลากร เพื่อให้ Bioburden ไม่มากจนเกินไป

Natural convection hot air oven ต่างกับ Forced convection hot air oven

1. Natural convection hot air oven (∆T = ± 20 °C) จะไม่ได้มีการควบคุมทิศทางลม อุณหภูมิจะแตกต่างกันมาก ไม่นิยมใช้ 2. Forced convection hot air oven (∆T = ± 1 °C)

ระบบทําให้ปราศจาก (Sterilization cycle) เชื้อมีกี่วิธี อะไรบ้าง

1. Overkill Sterilization ใช้ความร้อนสูงแล้วเชื้อลดลง 12 log (12 log reduction) โดยมองว่าเชื้อที่อยู่ในผลิตภัณฑ์มีค่า D121 (D value ที่ 121 o C) มากกว่า 1 นาที โดยไม่คํานึงถึง heat resistance ของเชื้อหรือมองว่าเชื้อมี ความต้านทานความร้อนสูงอยู่แล้ว + ไม่คํานึงถึง bioburden (สรุปคือไม่เสียเวลาหาข้อมูลเลยว่า ผลิตภัณฑ์มีเชื้อไรขึ้นเยอะ แล้วเชื้อนั้นค่า D value เท่าไร) *นิยมใช้วิธีนี้สุดแต่อย่าลืมว่าผลิตภัณฑ์ต้องไม่เสื่อมสลายเมื่อถูกความร้อนสูง 2. Bioburden-based ต้องเสียเวลาหาข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์มีเชื้อไรขึ้น แล้วเชื้อนั้นค่า D121 เท่าไร จึงไม่นิยมใช้ 3. Bioburden/biological indicator based sterilization (combination based sterilization) หาข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์มีเชื้อไรขึ้น แต่ไม่หาว่าค่า D121เท่าไร และใช้ค่า D121 ของเชื้อที่มีความต้านทานสูงไปเลย

แนวทางในการลดเวลาของการทําให้ปราศจากเชื้อ ลดได้ที่ช่วงไหนบ้าง ทำอย่างไร

1. ลด cooling period: 1.1 เครื่องมือหรือภาชนะที่ไม่ได้ปิดสนิทและภายในไม่ได้บรรจุสารละลาย: ใช้ fast/rapidly exhaust คือลดความดันได้อย่างรวดเร็ว 1.2 ภาชนะปิดสนิทที่บรรจุสารละลาย: ใช้ slow exhaust เพราะต้องระวังว่าถ้าลดเวลาเร็วเกินไป สารละลายจะเดือดแล้วพุ่งระเบิดได้โดยทําได้ 2 วิธี 1. Spray with cooling water คือลดอุณหภูมิของของข้างในโดย spray น้ําเย็นลงไป พร้อมกับ ลดความดันลง เป็นวิธีที่นิยมใช้มากกว่า 2. Short pulses of high pressure steam คืออัดความดันเข้าไปเป็นช่วงๆ 2. ลด increment time: Pre-cycle vacuum คือทําการไล่อากาศออกแบบเร็วๆ ทําให้เวลาสั้นลง

Lower temperature sterilization (Marginal thermal method) มีข้อกำจัดอย่างไร มีกี่ขั้นตอน

1. เป็นวิธีที่ไม่สามารถทําลายเชื้อในรูปสปอร์ได้, USP ไม่มี (ไม่แนะนํา) แต่ BP มี แนะนํา 2. การใช้ต้องใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีการเติม preservatives เอาไว้ ถ้าจะเอายาฉีดที่ฉีด intrathecalก็ไม่ได้ใส่ preservatives จึงใช้วิธีนี้ไม่ได้ 2 ขั้นตอน คือ 1. Tyndallization คงอุณหภูมิ 100 o C เป็นเวลา 20-45 นาที ติดต่อกัน 3 วัน 2. Inspissation คงอุณหภูมิ 60 o C เป็นเวลา 30-60 นาที ติดต่อกัน 7 วัน

spore ของ B.Stearothermophillus มีค่า D value ในสารละลาย Dextrose 5% in water ที่ 115 ํ c เท่ากับ 9.2 นาที และที่ 121 ํ c เท่ากับ 2.4 นาที ดังนั้น z value ของเชื้อชนิดนี้ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเท่ากับเท่าใด

10.3 นั่นคือ D value จะลดลงทุกๆ 10.3 ํ c ที่เพิ่มขึ้น

จํานวนจุลินทรีย์เร่ิมต้นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ คือ 2x10^5 cfu เมื่อนําไปผ่าน การฆ่าเชื้อโดยใช้ไอน้ําภายใต้ ความดันท่ี 121°C 5 นาที จุลินทรีย์ลดลงเหลือ 6x10^3 cfu ดังนั้นค่า D ท่ี 121 °C = ? และหมายความว่า ?

3.28 หมายความว่า หลังจากได้รับความร้อนภายใต้สภาวะท่ีกําหนด ไป 3.28 นาที จํานวนจุลินทรีย์ที่มี อยู่จะลดลง 90 % หรือ 1 log unit

ในการทำ Qualification and calibration นั้น เครื่องอะไรที่เราไม่ต้องทำ แล้วเครื่องอะไรที่ต้องทำ

Autoclave - เราไม่ต้องทํา o Installation qualification (IQ) ซื้อเครื่องแล้วติดตั้งบริษัททําให้เรา o Operational qualification (OQ) บริษัททําให้เราว่าใช้งานได้ตาม Thermocouples o Calibration(เราต้องทํา): 0 ํC, 150 ํC, 10-20 probes ขั้นต่ํา 10 probes o Criteria: probe แต่ละอันต้องมีอุณหภูมิต่างจาก reference thermometer ไม่เกิน ± 0.5 ํ C

ในการตรวจสอบความถูกต้องของการทําให้ปราศจากเชื้อโดยความร้อนชื้นของ USP จะใช้เชื้อ? ค่า Z value รวมๆ ทุกเชื้อทุกสภาวะ มีค่าเท่าไร

Bacillus stearothermophilus , สําหรับความร้อนชื้น >> ค่า Z = 10 °C สําหรับความร้อนแห้ง >> ค่า Z = 20 °C

สูตรคำนวณ D value พร้อมความหมาย

D = U/(logN0-logNu) U = exposure time ในแต่ละสภาวะที่กําหนด (เวลาที่ใช้) N0 = จํานวนจุลินทรีย์เริ่มต้นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ NU = จํานวนจุลินทรีย์ที่เหลืออยู่ภายหลังจากได้รับ exposure

D value คืออะไร

Decimal reduction = เวลา (สําหรับการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนหรือสารเคมี) ท่ีต้องการในการทําให้จํานวนของจุลินทรีย์ที่ มีอยู่ลดลง 90 % หรือ 1 log unit

สูตรคำนวณ F value พร้อมความหมาย ทั้ง Design ทั้ง min

F = Δt Σ10^(T-T0/z) = Δt x Σ lethal rate เมื่อ ∆t = ช่วงเวลาระหว่างการวัดอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ min F0 = D121 (logN0-logNt) (ร้อนชื้น) min FH = D170 (logN0-logNt) (ร้อนแห้ง)

สูตรคำนวณ Lethal rate พร้อมความหมาย

L = 10^(T-T0/z) เมื่อ T = อุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ภายในภาชนะบรรจุ T0 = อุณหภูมิอ้างอิง (121°C for steam, 170°C for dry heat) Z = Z value (10°C for steam, 20°C for dry heat)

ความหมายของช่วงเวลาของวงจรการทำให้ปราศจากเชื้อ increment time Lag time Exposure period cooling period

Lag time = ช่วงที่อุณหภูมิใน product ค่อยๆ ขึ้น ถึงอุณหภูมิที่เราต้องการ (121 °C สําหรับ ความร้อนชื้น) Exposure period = ช่วงเวลาที่อุณหภูมิถึงที่เรา ต้องการแล้ว Cooling period Increment time - ช่วงเวลาที่อุณหภูมิใน chamber ของเครื่อง ได้ถึงอุณหภูมิที่เราต้องการ

สิ่งที่จะมีผลต่อการทดสอบความถูกต้องของอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการทําให้ปราศจากเชื้อ คือ ?

Load size: ทั้งตู้กี่พันขวด ได้ fix ไว้มั้ย เวลาจะตรวจสอบความถูกต้อง Load configuration: เรียงในตู้ยังไง 1 ชั้น มีกี่แถว 1 แถว มีกี่ขวด แน่นมากมั้ย มีที่ว่างมั้ย type of containers: ตัวอย่าง 5 ml 1200 ampules 121 o C/ 20 min กับ 6 L 1 bottle 121 o C/ 60 min จะแสดงว่าถ้าเราเลือก type of containers ไม่เหมาะสม เราก็จะใช้เวลานานขึ้น

Microbial challenge ของ Moist heat กับ Dry heat ต่างกันอย่างไร Microbial challenge ทำพร้อมกับอะไรได้

Moist heat ใช้ Biological indicator คือ Bacillus stearothermophilus spores (Spore strips or Suspension ampules) Dry heat ใช้ Biological indicator คือ Bacillus subtilis spores (Spore strips or Suspension ampules) - ทำพร้อม Loaded chamber Heat penetration studies

สูตรคำนวณ Z value พร้อมความหมาย

Z = (T1-T2)/(logD2-LogD1) เมื่อ D1, D2 = ค่า D value ที่อุณหภูมิ T1 และ T2

ที่อุณหภูมิ 100 °C ใช้เวลาฆ่าเชื้อ 1 นาที จะมีประสิทธิผลเทียบเท่ากับการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 °C กี่นาที

[T0 = 121°C เป็นความร้อนชื้น ดังนั้นจึงต้องเลือก Z value สําหรับความร้อนชื้นคือ 10 °C] แทนสูตรได้เป็น L = 10^[ (100−121)/ 10 ] = 10^2.1 = 0.008 นาที = ที่อุณหภูมิ 100 °C ใช้เวลาฆ่าเชื้อ 1 นาที จะมีประสิทธิผลเทียบเท่ากับการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 °C เป็นเวลา 0.008 นาที ซึ่งถ้าไปเปิด Lethal rate table ที่อุณหภูมิ 100 °C, Z value = 10 °C ก็จะได้ค่า L = 0.008 เช่นกัน

การทำ thermocouple calibration ของ hot air oven ต่างจาก autoclave ยังไง

autoclave = 150 ํ C Hot air oven = 180 ํ C

criteria การกระจายความร้อน ของ Hot air oven ต่างจาก autoclave อย่างไร

autoclave = จุดที่เย็นที่สุดต้องแตกต่างจากอุณหภูมิเฉลี่ยของทุก probe ไม่เกิน ±2.5 ํ C Hot air oven = จุดที่เย็นที่สุดต้องแตกต่างจากอุณหภูมิเฉลี่ยของทุก probe ไม่เกิน ± 15 ํ C (ยอมมากกว่า moist heat)

สิ่งของที่มีรูพรุน, ของที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้าถูกความร้อนเป็น เวลานาน เหมาะกับการใช้ autoclave ที่มีวิธีการแทนที่อากาศ (air displacement) แบบใด เพราะ

pre-cycle vacuum เป็นการทําระบบให้เป็นสุญญากาศ ที่ 20 mmHg จะสามารถ ไล่อากาศออกไปได้ 98 % ในระยะเวลารวดเร็ว * เหมาะกับของที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้าถูกความร้อนเป็นเวลานานเพราะจะทําให้ระบบทํางานเร็วขึ้น , สิ่งของที่มีรูพรุน เช่น ผ้ากอซ เพราะอากาศอยู่ข้างในมากใช้วิธีนี้จะดีกว่า

Lethal rate คือ

คือ อํานาจในการทําลายเชื้อจุลินทรีย์ที่อุณหภูมินั้นๆ เมื่อเทียบกับอํานาจในการทําลายเชื้อที่อุณหภูมิอ้างอิง (ณ เวลาที่อุณหภูมิต่ําๆที่กําลังไต่ไปอุณหภูมิที่ต้องการ สามารถทําลายเชื้อได้ เพียงแต่ความสามารถมัน ต่ํากว่า)

Temperature time profile ได้มายังไง

คือเราจะเอาค่าอุณหภูมิที่บันทึกไว้ได้แต่ละจุดมาพล็อต แล้วมาคิดค่า F0 พอได้ temperature time profile เราจะหาค่า F0ได้ว่าแต่ละจุดได้เท่าไร เพราะเรามีข้อมูลเวลากับอุณหภูมิแล้ว

Bioburden (N0 ) คือ ?

จํานวนของเชื้อในผลิตภัณฑ์ก่อนทําให้ปราศจากเชื้อ ยิ่งมีปริมาณมาก แสดงว่าผลิตภัณฑ์เราปนเปื้อนเชื้อมาก

1. การจัดเรียงของในตู้ autoclave หรือ Hot air oven ต้องคํานึงถึง? คํานึงถึงการขยายตัวเมื่อถูกความร้อน 2. ข้อควรระวังในการจัดเรียงของในตู้อบ"ร้อนแห้ง"

ต้องคํานึงถึงขนาดของ load ด้วย เสมอ การเรียงขวดแน่นหลายขวดมาก เหมือนเป็นการทําให้ปริมาตรโดยรวมของ product มาก การเรียงขวดที่แน่นเกินไปจึงทําให้ต้องใช้เวลาในการขึ้นถึง expected temperature เพิ่มขึ้น ข้อควรระวังในการจัดเรียงของในตู้อบ"ร้อนแห้ง" - เครื่องแก้ว เรียงไว้อย่างหลวมๆ อย่าแน่นเกินไป ต้องเตรียมจัดวางให้ดีว่าควรใส่ได้สูงสุดกี่ชิ้น - ภาชนะที่ใส่น้ํามันอยู่ต้องใหญ่เพียงพอกับการขยายตัวของน้ํามันนั้น เดี๋ยวภาชนะระเบิด ความร้อนแห้ง คือใช้กับยาผง oil โลหะ ไม่ใช้พลาสติกกับยา ให้นึกให้ออกว่าผลิตภัณฑ์นี้จะใช้วิธีปราศจากเชื้อ ด้วยวิธีไหน เพราะ mcq ก็จะถามว่าวิธีไหนไม่เหมาะ

Sterility Assurance Level (SAL) คือ? ต้องทำอะไรบ้าง

ระดับการประกันความปราศจากเชื้อ ที่จะต้องมีความน่าจะเป็นท่ี จุลินทรีย์จะหลงเหลือในสิ่งของแต่ละรายการเพียงหนึ่งในล้าน (10-6) โดยการประกันความปราศจากเชื้อ (guarantee ว่าปราศจากเชื้อ) จะต้องมีการประกันคุณภาพ (Sterility assurance) และมีขั้นตอนการ ตรวจสอบความถูกต้อง (Validation)

ในการหาความสมดุลของลม การวัด Air velocity ต้องทำอย่างไร เกณฑ์อย่างไร

วัดออกจากช่องลมประมาณ 6 นิ้ว ต้องอยู่ในค่าเฉลี่ย ± 50 ft/min

In this production of sterile product, the microorganisms usually found during the mixing process have D121 = 1 min and No (bioburden) = 102 cfu. Is this steam sterilization cycle sufficient to ensure the sterile state at SAL of 10-6 ?

หา Lethal rate แต่ละจุดเวลา >> หา ∑ Lethal rate >> หา Design F0 >> หา minimum F0 >> เทียบ F0 ว่ามากกว่าหรือเท่ากับ minimum F0 แสดงว่า Sterilization cycle ที่เราใช้ ให้ระดับความปราศจากเชื้อ ถึงระดับที่เราต้องการ

Design F0 ควรมากกว่า minimum F0 เพียงเล็กน้อย เพราะ

หาก Design F0 มากกว่า minimum F0 มากเกินไป อาจจะ ทําให้ เกิด product degrade/สิ้นเปลือง พลังงาน/เปลืองเวลา ได้

การหา D value โดย Survival curve method แกน X , แกน Y และ slope คืออะไร

เป็นวิธีที่ดูผลของเวลาที่ทํา ให้ปราศจากเชื้อ (แกน X) กับ จํานวนเชื้อที่หลงเหลืออยู่ ใน product (แกน Y) จะได้ slope = -1/D (D คือ D value)

ตัววัดที่ใช้วัดความถูกต้องของการทำให้ปราศจากเชื้อ มีอะไรบ้าง มีหลักการยังไง

แบ่งเป็น 2 อย่าง 1. Sterilizer validation set - อุปกรณ์คือ thermocouples เป็นสายเส้นลวดที่จะใส่ในตู้ แต่ถ้ารวยหน่อยจะเป็น digistrip recorder/F0 calculator/ data logger ซึ่งจะเก็บข้อมูลอุณหภูมิได้หมดเลย และมี calibration อุปกรณ์ก่อน 2. Biological indicators (BI) Resistant bacterial spores: วิธี moist heat: Bacillus stearothermophilus วิธี Dry heat: Bacillus subtilis, Bacillus atrophaeus หลักการของ BI คือเอาเชื้อที่พร้อมใช้งานมาใส่ใน suspension ampule โดยมีเชื้อ (B. stearothermophilus) +อาหารเลี้ยงเชื้อ + indicator bromocresol purple นําไป incubation ตามอุณหภูมิที่กําหนด ดูผลดังนี้ Negative: ถ้าฆ่าเชื้อได้ จะเป็นสีม่วงเหมือนเดิม Positive: ถ้าเชื้อเจริญเติบโต เกิดการใช้อาหาร จะเกิดความเป็นกรด เปลี่ยนจากสีม่วงเป็นเหลือง Overkill: ถ้าใช้อุณหภูมิสูงเกินไปจะเป็นสีน้ําตาล อาจจะเห็นตอนที่เอาออกมาจากตู้เลย เพราะ media degrade เสีย ไหม้ ทําให้เป็นสีน้ําตาล

ข้อดีข้อด้อยของการทําให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง

• สามารถใช้กับสารที่เสียเมื่อสัมผัสกับความชื้น เช่น powder, anhydrous oil เป็นต้น • เหมาะกับเครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะที่เป็นแก้วและโลหะ • ก่อผลเสียต่อแก้วและโลหะน้อยกว่าความร้อนชื้น (เกิดการสึกกร่อนหรือสนิมจากความชื้นลดลง) • ได้เครื่องมือเครื่องใช้แห้งพร้อมใช้งาน เก็บให้อยู่ในสภาพปราศจาก เชื้อได้เป็นเวลานานและง่ายกว่า (ไม่ต้องทําให้แห้งก่อนใช้ เหมือนกรณีของความร้อนชื้น) ข้อด้อยของการทําให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง • มีผลเสียต่อยา พลาสติก และยาง • ไม่เหมาะกับ surgical dressing, fabrics (พวกเสื้อผ้า) เพราะจะทําให้เส้นใยสูญเสีย ความชื้น และ ไหม้ได้


Set pelajaran terkait

Chapter 20: Drug Therapy With Tetracyclines, Sulfonamides, and Urinary Antiseptics

View Set

Unit 1 Multiple Choice Questions

View Set

m101b Receptors & Synaptic Transmission

View Set

NCLEX practice questions Chapter 6: Health and Wellness

View Set

AP World History Chapter 15 Vocab

View Set

P&C Homeowners (HO) Policies- Xcel chapter 6

View Set

Make Connections: The Plasma Membrane and Phospholipid Structure

View Set