Electrical Machines

Lakukan tugas rumah & ujian kamu dengan baik sekarang menggunakan Quizwiz!

ข้อที่ 217 : หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส พิกัด 500 kVA, 24 kV/240 V, Delta - Delta connection จงหาขนาดพิกัดกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้านี้

** คำนวณใหม่ **

ข้อที่ 218 : หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส พิกัด 500 kVA, 24 kV/240 V, Delta - Delta connection จงหาขนาดกระแสไฟฟ้าเฟสของหม้อแปลงไฟฟ้านี้

** คำนวณใหม่ **

ข้อที่ 219 : หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส พิกัด 500 kVA, 24 kV/240 V, Star - Star connection จงหาพิกัดกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้านี้

** คำนวณใหม่ **

ข้อที่ 220 : หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส พิกัด 500 kVA, 24 kV/240 V, Star - Star connection จงหาขนาดกระแสไฟฟ้าเฟสของหม้อแปลงไฟฟ้านี้

** คำนวณใหม่ **

ข้อที่ 42 : วงจรแม่เหล็ก (magnetic circuit) มีทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux) ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 1.2567 m พื้นที่หน้าตัด 0.001 sq.m อยากทราบว่าค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) ของวงจรแม่เหล็ก มีค่าเท่าใด เมื่อกำหนดให้ค่าความซึมซาบแม่เหล็กสัมพัทธ์ (relative permeability) เท่ากับ 5000 และ

** คำนวณใหม่ **

ข้อที่ 29 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่งมีแรงเคลื่อนแม่เหล็ก (magnetomotive force) เท่ากับ 1000 A.turn มีค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) ของวงจรแม่เหล็ก เท่ากับ 50,000 A.turn/Wb จงหาค่าของเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux) ในแกนเหล็ก

** ต้องคำนวณ **

ข้อที่ 176 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส มีอัตราส่วนจำนวนรอบ (turn ratio) 1:2 พิกัดกำลัง 100 VA จงหาแรงดันไฟฟ้าด้านออก หากด้านเข้ามีการต่อแบตเตอรี่ 12 V

1 : 0 V

ข้อที่ 45 : วงจรแม่เหล็กหนึ่งมีค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) เท่ากับ 1500 A.turn/wb ประกอบด้วยขดลวดพันอยู่จำนวน 200 turns ถ้าขดลวดถูกป้อนจากแบตเตอรี่ 24 V มีกระแสป้อนเข้าในสภาวะคงตัวเท่ากับ 3 A จงหาค่ากำลังที่สูญเสียในแกนเหล็ก (core loss) มีค่าเท่าใด

1 : 0 W

ข้อที่ 78 : โครงสร้างเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับแบบขั้วยื่น (salient pole) ที่โรเตอร์ มี 2 poles ค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) ของขดลวดสเตเตอร์เท่ากับ H โดยที่มุม เป็นมุมระหว่างแกนของขดลวดที่สเตเตอร์กับโรเตอร์ ขณะที่มีค่ากระแสไฟฟ้ากระแสสลับความถี่ 50 Hz ไหลผ่านขดลวดเท่ากับ 10.0 A มุมที่ทำให้พลังงานสะสมอยู่ในรูปสนามแม่เหล็กสูงสุด (maximum storage energy in magnetic field) มีค่าเท่าใด

1 : 0 degree

ข้อที่ 26 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง มีขดลวด 2 ชุด พันอยู่รอบแกนเหล็ก ถ้าขดลวดชุดที่ 1 มีขดลวดพันอยู่จำนวน 100 turns ส่วนขดลวดชุดที่ 2 มีขดลวดพันอยู่จำนวน 500 turns และแกนเหล็กมีค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) เท่ากับ 7,960,000 A.turn/Wb ให้คำนวณหาค่าความเหนี่ยวนำร่วม (mutual inductance: M) ของขดลวดชุดที่ 1 ที่ถูกกระทำโดยขดลวดชุดที่ 2

1 : 0.0063 H

ข้อที่ 58 : เส้นลวดยาว 0.1 m วางในแนวราบขนานกับแกน X เคลื่อนที่ในแนวแกน Y ด้วยความเร็ว 1 m/s ผ่านบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กกระจายสม่ำเสมอด้วยความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density) 0.5 T ชี้ในแนวแกน Z จงคำนวณหาแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (electromotive force) ที่เกิดขี้นบนเส้นลวด มีค่าเท่าใด

1 : 0.05 V

ข้อที่ 72 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง มีค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) 100 mH เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดเท่ากับ 2 A พลังงานสะสมในสนามแม่เหล็ก (magnetic stored energy) มีค่าเท่าใด

1 : 0.20 J

ข้อที่ 73 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง มีค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) 300 mH เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดเท่ากับ 2 A พลังงานสะสมในสนามแม่เหล็ก (magnetic stored energy) มีค่าเท่าใด

1 : 0.60 J

ข้อที่ 197 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W เมื่อพิจารณาทางด้านแรงดันสูง ค่าความต้านทานของขดลวด (Req) มีค่าเท่าใด

1 : 0.9 ohm

ข้อที่ 97 : จากการพันขดลวดอาร์มาเจอร์สามเฟส (three phase armature winding) แบบสองชั้น (double layer) ที่มี 12 slots, 4 poles มีจำนวนรอบของขดลวดแต่ละขดเท่ากับ 25 turns ให้คำนวณหาค่าตัวประกอบพิตช์ (pitch factor : Kp) ของ fundamental frequency EMF

1 : 1.0

ข้อที่ 98 : จากการพันขดลวดอาร์มาเจอร์สามเฟส (Three phase armature winding) แบบสองชั้น (Double layer) ที่มี 12 slots, 4 poles มีจำนวนรอบของขดลวดแต่ละขดเท่ากับ 25 turns ให้คำนวณหาค่า Winding factor (Kw) ของ Fundamental

1 : 1.0

ข้อที่ 113 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงชนิดกระตุ้นสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองแบบขนาน (shunt DC generator) พิกัดแรงดันไฟฟ้า 250 V ความต้านทานอาร์มาเจอร์ 0.15 ohm ความต้านทานขดลวดสนามแบบขนาน 100 ohm ขณะจ่ายกำลังไฟฟ้าให้ความต้านทานไฟฟ้ามีค่า 25 ohm ต้องใช้ความเร็วของต้นกำลังทางกล 3000 rpm ให้คำนวณหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดอาร์มาเจอร์

1 : 12.5 A

ข้อที่ 123 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงชนิดกระตุ้นแยก (separately excited DC generator) มีค่าแรงดันอาร์มาเจอร์ 150 V ขณะแกนเพลาถูกขับด้วยความเร็วรอบ 1800 rpm จงหาค่าแรงดันไฟฟ้าขณะไร้ภาระ ที่ความเร็ว 1600 rpm ถ้าควบคุมกระแสไฟฟ้าในขดลวดสนามให้มีค่าคงที่

1 : 133.3 V

ข้อที่ 192 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W เมื่อจ่ายภาระที่พิกัด 250 V, 0.8 PF lagging หม้อแปลงไฟฟ้านี้มีค่าอัตราส่วนจำนวนรอบ (turn ratio) เท่าใด

1 : 20

ข้อที่ 190 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W เมื่อจ่ายภาระที่พิกัด 250 V, 0.8 PF lagging หม้อแปลงไฟฟ้านี้มีความสูญเสียในแกนเหล็กเท่าใด

1 : 205 W

ข้อที่ 172 : หม้อแปลงไฟฟ้าตัวหนึ่งมีขนาด 50 kVA, 2400/240 V, 50 Hz, ขณะทำการทดสอบหาขั้ว (polarity) โดยทำการต่อวงจรดังรูป ถ้าจ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้าทางด้านขดลวดแรงดันสูง (V1) 240 V มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า (voltmeter) ในรูปจะอ่านค่าแรงดันไฟฟ้าได้เท่าใด

1 : 216 V

ข้อที่ 207 : หม้อแปลงไฟฟ้าในอุดมคติพิกัด 440/220 V, 50 Hz ภาระทางไฟฟ้าด้านทุติยภูมิมีค่าแสดงดังรูป เมื่อจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับภาระที่พิกัด 220 V ให้หาค่าขนาดของกระแสไฟฟ้าทางด้านทุติยภูมิ (secondary current) เมื่อพิจารณามาอยู่ทางด้านปฐมภูมิ (primary)

1 : 22 A

ข้อที่ 200 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส Core type, 50 Hz มีจำนวนรอบขดลวดด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำ 2000 รอบ และ 200 รอบ ตามลำดับ จงหาค่าแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced voltage) ทางด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำตามลำดับ เมื่อเส้นแรงแม่เหล็กในแกนเหล็ก (magnetic flux) เท่ากับ 0.005 sin (314.6t)

1 : 2220 V, 222 V

ข้อที่ 209 : หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส พิกัด 2000 kVA, 24 kV/400 V, Delta - Star connection ให้หาพิกัดกระแสเฟสทางด้านปฐมภูมิ (rated primary phase current)

1 : 27.8 A

ข้อที่ 137 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบขนาน (shunt DC motor) ขนาด 150 HP, 240 V, 650 rpm ขณะทำงานขับภาระขนาด 125 HP มอเตอร์ใช้กระแสไฟฟ้า 420 A ถ้าให้ความต้านทานของขดลวดอาร์เมเจอร์ (armature winding) และขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) มีค่า 0.0125 และ 32 ohm ตามลำดับ แรงดันตกคร่อมแปรงถ่านมีค่า 2 V จงหาค่ากำลังสูญเสียจากส่วนหมุน (rotational loss) (1 HP = 746 W)

1 : 2780 W

ข้อที่ 193 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W พิกัดกระแสไฟฟ้าด้านแรงดันสูงมีค่าเท่าใด

1 : 30 A

ข้อที่ 38 : วงจรแม่เหล็ก (magnetic circuit) วงจรหนึ่ง มีขดลวด 200 turns พันรอบแกนเหล็กที่มีค่าความซึมซาบแม่เหล็กสัมพัทธ์ (relative permeability) เท่ากับ 2500 มีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 0.015 sq.m ความยาวเฉลี่ยของวงจรแม่เหล็กเท่ากับ 1.8 m เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดมีค่าเท่ากับ 1 A อยากทราบค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) ของวงจรแม่เหล็กนี้มีค่าเท่าใด

1 : 38,217 A.turn/Wb

ข้อที่ 31 : ตัวเหนี่ยวนำขนาด 10 mH โดยเป็นแกนเหล็กรูปวงแหวน (toroidal core) มีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 100 sq.mm ความยาวเฉลี่ยของวงจรแม่เหล็กเท่ากับ 0.1 m จงคำนวณหาจำนวนรอบของขดลวดที่พันบนแกนเหล็กรูปวงแหวน เมื่อกำหนดให้ค่าความซึมซาบแม่เหล็กสัมพัทธ์ (relative permeability) เท่ากับ 5000 และ

1 : 40 รอบ

ข้อที่ 145 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงพิกัด 220 V, 32.5 A, 1750 rpm มีค่าความต้านทานขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature resistance) 0.55 ohm กระแสสตาร์ท (starting current) มีค่าเท่ากับเท่าใด

1 : 400 A

ข้อที่ 171 : ถ้านำหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส 3 ชุด มาต่อเป็นหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส ขนาดพิกัด 600 kVA, 44000/440 V แบบ Delta - Star จงคำนวณหาขนาดพิกัดของหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส

1 : 44 kV/254 V, 200 kVA

ข้อที่ 156 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงตัวหนึ่งขณะไร้ภาระหมุนด้วยความเร็ว 500 rpm เมื่อทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced emf) ที่เกิดขึ้นในขดลวดอาร์มาเจอร์ลดลง 10 % ความเร็วรอบของมอเตอร์จะมีค่าเท่ากับเท่าใด

1 : 450 rpm

ข้อที่ 141 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงพิกัด 230 V, 27.5 A ขณะทำงานที่พิกัดมีความเร็วรอบ 1750 rpm มีค่าความต้านทานขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature resistance) 0.8 ohm ให้คำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้าที่ต้องต่อเข้ากับขดลวดอาร์มาเจอร์เพื่อให้กระแสขณะสตาร์ทมีค่าสูงสุดไม่เกิน 120 % ของพิกัด

1 : 6.17 ohm

ข้อที่ 194 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W พิกัดกระแสไฟฟ้าด้านแรงดันต่ำมีค่าเท่าใด

1 : 600 A

ข้อที่ 112 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ขณะขับโหลดมีความเร็วรอบ 720 rpm กำลังเอาท์พุท 10 HP ให้คำนวณหาค่าของแรงบิดที่แกนเพลามอเตอร์ (1 HP=746 W)

1 : 98.9 N.m

ข้อที่ 215 : จากรูปเป็นการต่อหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟสแบบใด

1 : Delta - Delta

ข้อที่ 44 : ความสูญเสียในแกนเหล็ก (core loss) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

1 : Hysteresis loss และ Eddy current loss

ข้อที่ 47 : ความต้านทานไฟฟ้า (resistance) ในวงจรไฟฟ้าเปรียบเหมือนข้อใดในวงจรแม่เหล็ก

1 : Magnetic reluctance

ข้อที่ 132 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดใดที่ให้แรงบิดเริ่มต้นหมุนสูง

1 : Series motor

ข้อที่ 131 : เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นด้วยตัวเอง (self-excited DC machine) สามารถแบ่งการต่อขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) ได้เป็น 3 ประเภทคือ

1 : Series, shunt, and compound

ข้อที่ 182 : จากรูปเป็นการทดสอบหาขั้ว (porality test) ของหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส ถ้าขั้วของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นดังรูป มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า (voltmeter) ในรูปจะวัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้ว H2 และ X2 ได้เท่าใด

1 : |V1 - V2|

ข้อที่ 148 : การลดค่ากระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงขณะเริ่มต้นหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC motor) สามารถกระทำได้โดย

1 : การนำความต้านทานภายนอกที่มีค่าสูง ๆ ต่ออนุกรมเข้ากับขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding)

ข้อที่ 179 : ข้อใดคือนิยามของ การเบี่ยงเบนแรงดันไฟฟ้า (voltage regulation) ของหม้อแปลงไฟฟ้า

1 : การเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วด้านทุติยภูมิจากขณะไม่มีภาระไปสู่ขณะขับภาระเต็มพิกัด

ข้อที่ 147 : ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ถูกต้อง

1 : การเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้กับขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding) อย่างช้าๆ เป็นการลดกระแสสตาร์ท

ข้อที่ 32 : เมื่อนำวัสดุแม่เหล็กแบบ Soft steel เข้าใกล้แม่เหล็กปรากฎว่าวัสดุแม่เหล็กมีความเป็นแม่เหล็กเกิดขึ้นเราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่าอะไร

1 : การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก

ข้อที่ 142 : ตัวเลือกใดกล่าวเกี่ยวกับการสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงไม่ถูกต้อง

1 : ขณะสตาร์ทแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced emf) ที่เกิดขึ้นที่ขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding) มีค่าเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวดอาร์มาเจอร์

ข้อที่ 170 : ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้า

1 : ขณะหม้อแปลงไฟฟ้ามีการจ่ายภาระจะเกิดการสูญเสียทั้งในลวดทองแดงและแกนเหล็ก

ข้อที่ 115 : เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง (DC machine) มีขดลวดชนิดใด ที่ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กหลัก

1 : ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding)

ข้อที่ 22 : วัสดุแม่เหล็กชนิด Ferromagnetic material ควรมีคุณสมบัติตรงกับข้อใด

1 : ความซึมซาบแม่เหล็กสัมพัทธ์ (relative permeability) มีค่าสูงมาก

ข้อที่ 157 : การเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงขณะไม่มีภาระ ด้วยวิธีการควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว (terminal voltage) ให้สูงขึ้นแต่ไม่เกินค่าพิกัด จะทำให้เกิดผลใด

1 : ความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้าสูงขึ้น

เนื้อหาวิชา : 41 : Speed control methods of dc motor ข้อที่ 153 : การเพิ่มค่าความต้านทานภายนอกที่ต่ออนุกรมกับขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบขนาน (shunt DC motor) ขณะมอเตอร์ทำงานที่ความเร็วรอบพิกัด จะมีผลอย่างไร

1 : ความเร็วรอบสูงขึ้น

ข้อที่ 50 : ถ้าเพิ่มความกว้างของช่องอากาศ (air gap) ของวงจรแม่เหล็กเป็น 3 เท่า โดยค่ากระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดคงที่ ความเหนี่ยวนำมีค่าเป็นอย่างไร

1 : ค่าความเหนี่ยวนำลดลง **** เท่า

ข้อที่ 175 : ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขในการนำหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสมาต่อขนานกันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

1 : จำนวนขั้วแม่เหล็ก (magnetic pole) เท่ากัน

ข้อที่ 10 : ตัวแปรใด ที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความเหนี่ยวนำ (inductance) ในวงจรแม่เหล็ก

1 : จำนวนรอบของขดลวด 2 : ความยาวเฉลี่ยของแกนเหล็ก 3 : พื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็ก 4 : ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่ 60 : หลักการของเครื่องจักรกลไฟฟ้า จะมีสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสเตเตอร์และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากโรเตอร์ หากสนามแม่เหล็กของสเตเตอร์หมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ขณะที่เครื่องจักรกลไฟฟ้ากำลังทำงานเป็นมอเตอร์ จงหาทิศทางของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากโรเตอร์ และทิศของแรงบิดทางกลที่เกิดจากมอเตอร์

1 : ทั้งสนามแม่เหล็กโรเตอร์และทิศของแรงบิด หมุนทวนเข็มนาฬิกา

ข้อที่ 34 : ข้อใดส่งผลต่อ ทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux) ที่เกิดขึ้นรอบตัวนำ (conductor)

1 : ทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า

ข้อที่ 6 : การเปลี่ยนแปลงของตัวเลือกในข้อใด ที่ส่งผลทำให้ค่าความสูญเสียของแกนเหล็ก (core loss) ในวงจรแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง

1 : ปริมาตรของแกนเหล็ก 2 : น้ำหนักของแกนเหล็ก 3 : แรงเคลื่อนทางแม่เหล็กที่ใช้งาน 4 : ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 150 : ข้อใดเป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้องในการเริ่มหมุนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC motor)

1 : ป้อนกระแสสร้างสนามแม่เหล็ก (field current) ที่พิกัด แล้วถึงจะจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้ขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding)

ข้อที่ 124 : ย่านการใช้งานตั้งแต่ไม่มีภาระจนถึงมีภาระเต็มพิกัดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบใดที่ความเร็วรอบมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

1 : มอเตอร์กระแสตรงชนิดกระตุ้นสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองแบบอนุกรม (series DC motor)

ข้อที่ 103 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited dc generator) หมุนด้วยความเร็วคงที่ ถ้าต้องการเพิ่ม terminal voltage จะสามารถทำได้อย่างไร

1 : ลดความต้านทานขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding resistance)

ข้อที่ 79 : เมื่อค่าความซึมซาบแม่เหล็กของวงจรแม่เหล็กชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของค่าเดิม โดยค่าความหนาแน่นสนามแม่เหล็กยังคงมีค่าเท่าเดิม ค่าพลังงานสะสมในสนามแม่เหล็กจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

1 : ลดลงเหลือ 1/2 เท่าของค่าเดิม

ข้อที่ 227 : ซิงโครนัสรีแอคแทนซ์ (synchronous reactance) เกิดจากสนามแม่เหล็กส่วนใดของเครื่องจักรกลไฟฟ้าซิงโครนัส

1 : สนามแม่เหล็กอาร์เมเจอร์กับสนามแม่เหล็กรั่ว

ข้อที่ 2 : อุปกรณ์ในข้อใด ที่ทำงานโดยไม่ได้ใช้หลักการของสนามแม่เหล็ก

1 : สวิตช์ปุ่มกด (Push button switch)

ข้อที่ 158 : วิธีการควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงด้วยวิธีควบคุมกระแสสร้างสนามแม่เหล็ก (field current) ควรควบคุมในย่านความเร็วใด

1 : สูงกว่าพิกัดความเร็วปกติ

ข้อที่ 37 : เมื่อขดลวดพันบนแกนอากาศ 20 turns มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 2 A จะต้องทำอย่างไร ถ้าต้องการให้แรงเคลื่อนแม่เหล็กเพิ่มขึ้น

1 : เพิ่มจำนวนรอบ

ข้อที่ 41 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง มีขดลวด 100 turns พันรอบแกนเหล็ก ถ้ามีกระแสไฟฟ้าขนาด 5 A ไหลผ่านขดลวด ถ้าต้องการให้แรงเคลื่อนแม่เหล็ก (magnetomotive force) เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ข้อใดถูกต้อง

1 : เพิ่มจำนวนรอบเป็น 200 turns และกระแสไฟฟ้าเท่าเดิม

เนื้อหาวิชา : 39 : DC machines ข้อที่ 101 : ถ้าต้องการกลับทิศการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ข้อใดถูกต้อง

1 : เลือกวิธีการกลับขั้วขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก หรือเลือกวิธีการกลับขั้วขดลวดอาร์มาเจอร์ วิธีใดวิธีหนึ่ง

ข้อที่ 1 : กระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เทียบได้กับพารามิเตอร์ใดในวงจรแม่เหล็ก

1 : เส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux)

ข้อที่ 21 : ข้อใดทำให้ฟลักซ์รั่ว (leakage flux) ของวงจรแม่เหล็กเพิ่มขึ้นได้

1 : โครงสร้างแม่เหล็กทำงานในช่วงอิ่มตัว

ข้อที่ 226 : ข้อใดเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induction machine)

1 : โรเตอร์แบบพันขดลวด (wound rotor) และ สเตเตอร์ (stator)

ข้อที่ 67 : แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (electromotive force) ในขดลวดอาร์มาเจอร์ ของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง (DC machines) มีลักษณะเป็นแบบใด

1 : ไฟฟ้ากระแสสลับ

ข้อที่ 25 : กำหนดให้มีกระแสไฟฟ้าขนาด 2 A ไหลในขดลวดทำให้เกิดการกระจายสนามแม่เหล็กดังรูป โดยที่ แต่ละเส้นแสดงถึงค่าเส้นแรงแม่เหล็กเท่ากับ 4 mWb ให้คำนวณหาค่าความเหนี่ยวนำ (inductance) ที่เกิดขึ้นของขดลวดนี้

2 : 0.024 H

ข้อที่ 77 : เมื่อป้อนไฟฟ้ากระแสสลับความถี่ 50 Hz เข้าในขดลวดที่มีค่าความเหนี่ยวนำ 2.0 mH จะมีค่ากระแสไฟฟ้ากระแสสลับไหลผ่านขดลวดเท่ากับ 10.0 A ให้หาค่าพลังงานสูงสุดที่สะสมอยู่ในรูปสนามแม่เหล็ก (maximum storage energy in magnetic field) มีค่าเท่าใด

2 : 0.2 J

เนื้อหาวิชา : 36 : Principles of electromagnetic and electromechanical energy conversion ข้อที่ 54 : จาก Lorentz's force law จงคำนวณหาแรงแม่เหล็ก (magnetic force) ที่เกิดบนลวดตัวนำที่มีความยาว 0.2 m โดยมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเท่ากับ 10 A ภายใต้ความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density) เท่ากับ 0.2 T ในทิศทางตั้งฉาก มีค่าเท่าใด

2 : 0.4 N

ข้อที่ 70 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง ขดลวดมีเส้นแรงแม่เหล็กเกี่ยวคล้อง (flux linkage) เท่ากับ 1.25 Wb.turn และขดลวดมีค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) 625 mH ค่าพลังงานสะสมในสนามแม่เหล็ก (magnetic stored energy) มีค่าเท่ากับเท่าใด

2 : 1.25 J

ข้อที่ 14 : กำหนดให้ เครื่องจักรกลไฟฟ้ามีค่าความสูญเสียเนื่องจากกระแสวน (eddy current loss) 642 W ขณะทำงานที่ค่าแรงดันไฟฟ้า และความถี่ไฟฟ้าที่พิกัด 240 V และ 25 Hz ตามลำดับ ถ้าเปลี่ยนสภาพการทำงานโดยใช้ความถี่ไฟฟ้า 60 Hz และแรงดันไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดค่าความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กเป็น 62% ของค่าพิกัด จงหาค่ากำลังสูญเสียจากกระแสไหลวน

2 : 1.42 kW

ข้อที่ 151 : ขณะเริ่มหมุนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC motor) ถ้ากระแสเริ่มหมุนของขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding) เป็น 1.5 เท่าของกระแสพิกัด แรงบิดเริ่มหมุนจะเป็นเท่าใด

2 : 1.5 เท่าของพิกัดแรงบิด

ข้อที่ 143 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบขนาน (shunt DC motor) มีพิกัด 10 kW, 100 V, 1000 rpm มีค่าความต้านทานขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature resistance) 0.1 ohm ขณะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 100 V ค่ากระแสอาร์มาเจอร์ (armature current) ในช่วงเริ่มหมุนเป็นกี่เท่าของค่ากระแสอาร์มาเจอร์ที่พิกัด

2 : 10 เท่า

ข้อที่ 203 : หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส พิกัด 500 kVA, 24 kV/400 V, Delta - Star connection จงหาขนาดพิกัดกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้านี้

2 : 12.03/721.7 A

ข้อที่ 195 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W เมื่อจ่ายภาระที่พิกัด 250 V, 0.8 PF lagging หม้อแปลงไฟฟ้านี้มีกำลังไฟฟ้าทุติยภูมิ (secondary power) เท่าใด

2 : 120 kW

เนื้อหาวิชา : 38 : Principles of rotating machines ข้อที่ 80 : จงหาความเร็วซิงโครนัส (synchronous speed) ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส มีค่าเท่าใด เมื่อจำนวนขั้วแม่เหล็กเท่ากับ 4 ขั้ว และป้อนแรงดันไฟฟ้าสามเฟสที่มีความถี่เท่ากับ 50 Hz

2 : 1500 rpm

ข้อที่ 92 : มอเตอร์มีความเร็วรอบ 1500 rpm จงหาความเร็วรอบในหน่วยเรเดียนต่อวินาที (rad/s)

2 : 157 rad/s

ข้อที่ 83 : เครื่องจักรไฟฟ้ากระแสตรง เมื่อขับด้วยต้นกำลังให้หมุนด้วยความเร็ว 50 rpm โดยอาร์มาเจอร์ของเครื่องจักรไฟฟ้านี้มีจำนวนขั้วแม่เหล็ก 4 poles แต่ละขั้วมีเส้นแรงแม่เหล็กเกิดขึ้นเท่ากับ 0.1 Wb จำนวนตัวนำทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 100 และจำนวนวงจรขนานเท่ากับ 2 วงจร แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (electromotive force) ที่เกิดขึ้นมีค่าเท่าใด

2 : 16.7 V

ข้อที่ 20 : จงคำนวณหาค่าความเหนี่ยวนำของขดลวด เมื่อวงจรแม่เหล็กมีรายละเอียดดังนี้ พื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็ก (core cross-section area) เท่ากับ 0.0025 sq.m ความยาวเฉลื่ยของวงจรแม่เหล็ก เท่ากับ 1.6 m ความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก เท่ากับ 1.6 T ขดลวดที่วงจรแม่เหล็ก เท่ากับ 250 turns กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดเท่ากับ 6 A

2 : 166.67 mH

ข้อที่ 144 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบขนาน (shunt DC motor) มีพิกัด 10 kW, 100 V, 1000 rpm มีค่าความต้านทานขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature resistance) 0.5 ohm ขณะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 100 V ค่ากระแสอาร์มาเจอร์ (armature current) ในช่วงเริ่มหมุนมีค่าเท่าใด

2 : 200 A

ข้อที่ 93 : มอเตอร์มีความเร็วรอบ 3000 rpm จงหาความเร็วรอบในหน่วยเรเดียนต่อวินาที (rad/s)

2 : 314 rad/s

ข้อที่ 66 : ลวดตัวนำความยาว 0.5 m วางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กที่มีการกระจายสม่ำเสมอขนาด 1.2 T เมื่อลวดตัวนำเคลื่อนที่ตัดกับสนามแม่เหล็กด้วยความเร็ว 10 m/s มีแนวทำมุมเท่ากับ 45 องศา ให้หาแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นบนลวดตัวนำมีค่าเท่ากับใด

2 : 4.24 V

ข้อที่ 138 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบขนาน (shunt DC motor) ขนาด 150 HP, 240 V, 650 rpm ขณะทำงานขับภาระขนาด 125 HP มอเตอร์ใช้กระแสไฟฟ้า 420 A ถ้าให้ความต้านทานของขดลวดอาร์เมเจอร์ (armature winding) และขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) มีค่า 0.0125 และ 32 ohm ตามลำดับ แรงดันตกคร่อมแปรงถ่านมีค่า 2 V จงหาค่าของกระแสอาร์เมเจอร์ (armature current) (1 HP = 746 W)

2 : 412.5 A

ข้อที่ 199 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส Core type, 50 Hz มีจำนวนรอบขดลวดด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำ 1000 รอบ และ 500 รอบ ตามลำดับ จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กสูงสุดในแกนเหล็ก (maximum magnetic flux) เท่ากับ 0.002 Wb จงหาค่าแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced voltage) ทางด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำตามลำดับ

2 : 444 V, 222 V

ข้อที่ 55 : ถ้าต้องการให้ลวดตัวนำความยาว 0.5 m สร้างแรงดันไฟฟ้าขนาด 3 V โดยการตัดผ่านสนามแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density) เท่ากับ 1.2 T ในทิศตั้งฉาก จงหาค่าความเร็วในการเคลื่อนที่ของลวดตัวนำนี้ มีค่าเท่าใด

2 : 5 m/s

ข้อที่ 91 : จงคำนวณหาค่าความถี่ของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (electromotive force) มีค่าเท่าใด โดยที่ขดลวดสเตเตอร์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับสามเฟส ขั้วแม่เหล็ก 6 poles ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) พันอยู่บนโรเตอร์หมุนด้วยความเร็ว 1000 rpm

2 : 50 Hz

ข้อที่ 94 : มอเตอร์มีความเร็วรอบ 750 rpm จงหาความเร็วรอบในหน่วยเรเดียนต่อวินาที (rad/s)

2 : 78.5 rad/s

ข้อที่ 191 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W เมื่อจ่ายภาระที่พิกัด 250 V, 0.8 PF lagging หม้อแปลงไฟฟ้านี้มีความสูญเสียในขดลวดเท่าใด

2 : 810 W

ข้อที่ 225 : มอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟสในข้อใดให้แรงบิดเริ่มต้นหมุน (starting torque) สูงสุด

2 : Capacitor start motor

ข้อที่ 106 : การทำงานร่วมกันระหว่างวงแหวนแยก หรือคอมมิวเตเตอร์ (commutator) กับแปรงถ่าน (carbon brush) ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงเทียบได้กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือคอนเวอร์เตอร์ (converter) แบบใด

2 : Full wave rectifier

ข้อที่ 19 : ความหนาแน่นกระแส (current density) ในวงจรไฟฟ้าเปรียบเหมือนข้อใดในวงจรแม่เหล็ก

2 : Magnetic flux density

ข้อที่ 214 : จากรูปเป็นการต่อหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟสแบบใด

2 : Star - Star

ข้อที่ 65 : ข้อใด เป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ของแรงจากสนามแม่เหล็ก (magnetic force : fd) ที่เกิดขึ้นบนลวดตัวนำยาว l m ภายใต้สนามแม่เหล็กที่มีค่าความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density) เท่ากับ B T และมีกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดเท่ากับ i A

2 : fd = Bli sin 0

ข้อที่ 183 : จากรูปเป็นการทดสอบหาขั้ว (porality test) ของหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส ถ้าขั้วของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นดังรูป มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า (voltmeter) ในรูปจะวัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้ว H2 และ X2 ได้เท่าใด

2 : |V1 + V2|

ข้อที่ 57 : สมการ เป็นสมการที่ได้มาจากกฎในข้อใด เมื่อ e เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ, N เป็นจำนวนรอบของขดลวด เป็นเส้นแรงแม่เหล็ก และ t เป็นเวลา

2 : กฏของฟาราเดย์

ข้อที่ 163 : การกลับทางหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง สามารถทำได้โดยวิธีการใด

2 : กลับขั้วของขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) หรือกลับขั้วของแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว (terminal voltage)

ข้อที่ 173 : การกระทำในข้อใดที่ไม่จำเป็นต้องทราบขั้วของหม้อแปลงไฟฟ้าก่อน

2 : การขนานหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส

ข้อที่ 122 : ข้อใดต่อไปนี้ผิด

2 : การเกิดปฏิกิริยาอาร์เมเจอร์ หรืออาร์มาเจอร์รีแอคชั่น (armature reaction) จะเกิดขึ้นในกรณีของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเท่านั้น

ข้อที่ 184 : Autotransformer ต่างกับ Two winding transformer อย่างไร

2 : ขดลวดปฐมภูมิ และทุติยภูมิของ Autotransformer ไม่แยกจากกันทางไฟฟ้า (isolation)

ข้อที่ 48 : ถ้าลดจำนวนรอบของขดลวดลงครึ่งหนึ่ง จะทำให้ค่าความเหนี่ยวนำ (inductance) มีค่าตรงกับข้อใด

2 : ความเหนี่ยวนำลดลง 4 เท่า

ข้อที่ 52 : ถ้าเพิ่มความกว้างของช่องอากาศ (air gap) ของวงจรแม่เหล็ก โดยที่ความหนาแน่นสนามแม่เหล็ก (magnetic flux density) มีค่าคงที่ ข้อใดถูกต้อง

2 : ค่าพลังงานที่สะสมในรูปสนามแม่เหล็กมีค่ามากขึ้น

ข้อที่ 81 : จำนวนวงจรขนานของขดลวดอาร์มาเจอร์ของเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสตรง มีค่าเท่าใด เมื่อพันขดลวดอาร์มาเจอร์แบบ Lap winding

2 : จำนวนวงจรขนานของขดลวดอาร์มาเจอร์เท่ากับจำนวนขั้วแม่เหล็ก

ข้อที่ 135 : การต่อมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงต้องต่อขดลวดอย่างไร เพื่อให้มีการทำงานเป็นแบบขนาน

2 : ต่อขดลวดอาร์เมเจอร์ (armature winding) อนุกรมเข้ากับขดลวดสร้างสนามแม่เหล็กแบบอนุกรม (series field winding)

ข้อที่ 159 : หากจะควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงด้วยวิธีควบคุมค่าความต้านทานของขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) จะต้องระวังในเรื่องใดมากที่สุด

2 : พิกัดกระแสสร้างสนามแม่เหล็ก (field current)

ข้อที่ 126 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงในข้อใด มีค่า speed regulation น้อยที่สุด

2 : มอเตอร์กระแสตรงชนิดกระตุ้นสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองแบบขนาน (shunt DC motor)

ข้อที่ 40 : ขดลวดพันบนแกนอากาศ 100 turns มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 5 A จะต้องทำอย่างไร ถ้าต้องการให้แรงเคลื่อนแม่เหล็ก (magnetomotive force) ลดลงเหลือครึ่งหนึ่งจากค่าเดิม จะต้องทำอย่างไร

2 : ลดจำนวนรอบเหลือ 50 รอบ และกระแสไฟฟ้าเท่าเดิม

ข้อที่ 107 : ข้อใดไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาของการเกิดปฏิกิริยาอาร์มาเจอร์ หรืออาร์มาเจอร์รีแอคชัน (armature reaction)

2 : วงแหวนลื่น (slip ring)

ข้อที่ 105 : ตัวเลือกในข้อใด เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสตรง (DC machine)

2 : วงแหวนแยก หรือคอมมิวเตเตอร์ (commutator)

ข้อที่ 96 : ถ้าต้องการกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์ซิงโครนัส (synchronous motor) ทำได้โดยการ

2 : สลับขั้วสายไฟฟ้าป้อนเข้าขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding) คู่ใดคู่หนึ่ง

ข้อที่ 116 : เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง (DC machines) มีส่วนประกอบข้อใดที่อยู่กับที่

2 : สเตเตอร์ (stator)

ข้อที่ 228 : ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของขดลวดสเตเตอร์ของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ (AC machine)

2 : ส่งกำลังทางกลออกกรณีทำงานเป็นมอเตอร์

ข้อที่ 62 : จากหลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อหมุนขดลวดที่วางอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กที่กระจายสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดแรงบิด (torque) หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (electromotive force) และเป็นหลักการของเครื่องจักรไฟฟ้าประเภทใด

2 : แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ข้อที่ 117 : เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง (DC machine) มีส่วนประกอบในข้อใดที่หมุนได้

2 : โรเตอร์ (rotor)

ข้อที่ 223 : เมื่อต้องการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบซิงโครนัส (synchronous generator) ผลิตไฟฟ้า โดยต้นกำลังเป็นพลังงานน้ำจากเขื่อน ควรเลือกใช้โรเตอร์เป็นแบบใดจึงเหมาะสม

2 : โรเตอร์แบบขั้วยื่น (salient pole rotor)

ข้อที่ 11 : การแก้ปัญหาความสูญเสียเนื่องจากกระแสวน (eddy current loss) ทำได้อย่างไร

2 : ใช้แผ่นเหล็กบาง ๆ เคลือบวานิชแล้วอัดขึ้นเป็นแกน

ข้อที่ 56 : ถ้าต้องการให้ลวดตัวนำสร้างแรงดันไฟฟ้าขนาด 2.5 V โดยการตัดผ่านสนามแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density) 1.2 T ในทิศตั้งฉากด้วยความเร็ว 8 m/s จงหาค่าความยาวของลวดตัวนำ มีค่าเท่าใด

3 : 0.26 m

ข้อที่ 30 : ตัวเหนี่ยวนำมีขดลวดจำนวน 10 turns พันบนแกนเหล็กรูปวงแหวน (toroidal core) มีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 100 sq.mm ความยาวเฉลี่ยของวงจรแม่เหล็กเท่ากับ 0.1 m กำหนดให้ค่าความซึมซาบแม่เหล็กสัมพัทธ์ (relative permeability) เท่ากับ 5000 จงคำนวณหาค่าความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density: B) ของแกนเหล็ก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าขนาด 1 A ไหลผ่านตัวเหนี่ยวนำนี้ และ

3 : 0.628 T

ข้อที่ 88 : ขนาดของแรงเคลื่อนแม่เหล็กลัพธ์ (magnetomotive force) ของเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสสลับสามเฟส มีค่าเป็นกี่เท่าของแรงเคลื่อนแม่เหล็กในแต่ละเฟส

3 : 1.5 เท่า

ข้อที่ 76 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง มีเส้นแรงแม่เหล็กเกี่ยวคล้อง (flux linkage) เท่ากับ 1.5 Wb.turn และขดลวดมีค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) 625 mH ค่าพลังงานสะสมในสนามแม่เหล็ก (magnetic stored energy) มีค่าเท่าใด

3 : 1.8 J

ข้อที่ 111 : มอเตอร์กระแสตรงชนิดกระตุ้นสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองแบบอนุกรม (series DC motor) ขณะขับภาระมีความเร็วรอบ 720 rpm กำลังเอาท์พุท 9800 W ให้คำนวณหาค่าของแรงบิดที่แกนเพลามอเตอร์

3 : 130 N.m

ข้อที่ 89 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสสับ พิกัด 100 kVA มีขั้วแม่เหล็กเท่ากับ 80 poles เมื่อขับด้วยต้นกำลังให้หมุนด้วยความเร็วเท่ากับ 20 rps จงหาค่ามุมทางไฟฟ้าต่อการหมุนหนึ่งรอบในหน่วยองศา และค่าความถี่ของแรงดันไฟฟ้าในหน่วย Hz ตามลำดับ

3 : 14,400 °, 800 Hz

ข้อที่ 15 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง มีขดลวด 2 ชุด พันอยู่รอบแกนเหล็ก ถ้าขดลวดชุดที่ 1 มีขดลวดพันอยู่จำนวน 100 turns ส่วนขดลวดชุดที่ 2 มีขดลวดพันอยู่จำนวน 200 รอบ และแกนเหล็กมีค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) เท่ากับ 10,000,000 A.turn/Wb ค่าความเหนี่ยวนำร่วม (mutual inductance: M) ของขดลวดสองขดนี้มีค่าเท่ากับเท่าใด

3 : 2 mH

ข้อที่ 198 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W ค่าลีกเกจรีแอกแต้นซ์ของขดลวด (equivalent leakage reactance: Xeq) มีค่าเท่าใด

3 : 2.23 ohm

ข้อที่ 152 : ขณะเริ่มหมุนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบอนุกรม (series DC motor) ถ้ากระแสไฟฟ้าป้อนเข้าเป็น 1.5 เท่าของกระแสพิกัด แรงบิดเริ่มหมุนจะเป็นเท่าใด (กำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสกับสนามแม่เหล็กที่เกิดจากขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) เป็นแบบเชิงเส้น)

3 : 2.25 เท่าของพิกัดแรงบิด

ข้อที่ 201 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส พิกัด 5 kVA, 200/100 V, 50 Hz จงหาพิกัดกระแสไฟฟ้าด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำตามลำดับ

3 : 25 A, 50 A

ข้อที่ 134 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC motor) ขนาด 40 kW, 250 V, 180 A, 1450 rpm มีค่าต่าง ๆ ดังรูป ขณะขับภาระทางกลที่พิกัดกำลัง โดยป้อนด้วยพิกัดแรงดันไฟฟ้าเข้าที่ขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding) และขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) ให้คำนวณหาแรงบิดขาออกที่พิกัด (rated output torque)

3 : 263.5 N.m

ข้อที่ 109 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately exited DC generator) พิกัด 25 kW 250 V 1450 rpm ถ้าความต้านทานของขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding) มีค่าเท่ากับ 0.1053 ohm ความต้านทานของขดลวดชดเชย (compensation winding) มีค่าเท่ากับ 0.0141 ohm ความต้านทานของขดลวดอินเตอร์โพล (inter-pole winding) มีค่าเท่ากับ 0.0306 ohm และความต้านทานของขดลวดสนาม (field winding) มีค่าเท่ากับ 96.3 ohm จงหาแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำของขดลวดอาร์มาเจอร์ ขณะที่จ่ายภาระไฟฟ้าเต็มพิกัด (full load) มีค่าเท่าใด

3 : 265 V

ข้อที่ 9 : วงจรแม่เหล็ก (magnetic circuit) วงจรหนึ่งมีค่าค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) เท่ากับ 50,955 A.turn/Wb กำหนดให้วงจรแม่เหล็กมีขดลวดเท่ากับ 200 turns มีกระแสไฟฟ้าไหล 1 A และมีค่าความซึมซาบแม่เหล็กสัมพัทธ์ (relative permeability) เท่ากับ 2500 จงหาค่าเส้นแรงแม่เหล็กในแกนเหล็ก

3 : 3.9 mWb

ข้อที่ 154 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC motor) เริ่มต้นทำงานที่ความเร็วรอบ 800 rpm หากสนามแม่เหล็กถูกควบคุมให้มีค่าคงที่ และมีการปรับแรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว (terminal voltage) ลดลง 50 % จากค่าเริ่มต้น จงหาความเร็วรอบของมอเตอร์โดยประมาณ

3 : 400 rpm

ข้อที่ 133 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงแบบขนานขนาด 10 kW, 250 V, 1200 rpm และมีค่าต่าง ๆ แสดงตามรูป ขณะที่จ่ายภาระที่พิกัดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ให้คำนวณหากระแสอาร์มาเจอร์ (armature current)

3 : 41.0 A

ข้อที่ 208 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสพิกัด 50 kVA, 2400/120 V, 50 Hz เมื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าเต็มพิกัดแรงดันไฟฟ้า 120 V ให้กับภาระที่มีค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า 0.8 PF lagging ให้หาค่าของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับภาระ

3 : 41.67 A

ข้อที่ 114 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงชนิดกระตุ้นสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองแบบขนาน (shunt DC generator) พิกัดแรงดันไฟฟ้า 250 V ความต้านทานอาร์มาเจอร์ 0.15 ohm ความต้านทานขดลวดสนามแบบขนาน 100 ohm ขณะจ่ายกำลังไฟฟ้า 10 kW ต้องใช้ความเร็วของต้นกำลังทางกล 1500 rpm ให้คำนวณหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดอาร์มาเจอร์

3 : 42.5 A

ข้อที่ 28 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่งมีขดลวดจำนวน 200 turns ต่ออยู่กับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 V, 50 Hz ถ้าจำนวนรอบของขดลวดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จะต้องปรับให้ค่าของแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายมีค่าเท่ากับเท่าใด เพื่อให้ค่าความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density: B) ยังคงเท่าเดิม

3 : 440 V

ข้อที่ 71 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง มีเส้นแรงแม่เหล็กเกี่ยวคล้อง (flux linkage) เท่ากับ 2.5 Wb.turn และขดลวดมีค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) 625 mH พลังงานสะสมในสนามแม่เหล็ก (magnetic stored energy) มีค่าเท่าใด

3 : 5 J

เนื้อหาวิชา : 37 : Energy and co-energy ข้อที่ 68 : ขดลวดที่มีค่าความเหนี่ยวนำเท่ากับ 0.1 H ป้อนเข้าด้วยไฟฟ้ากระแสตรงเท่ากับ 10 A ให้คำนวณหาค่าพลังงานที่สะสมอยู่ในรูปสนามแม่เหล็ก มีค่าเท่าใด

3 : 5.0 J

ข้อที่ 74 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่ง มีค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) เท่ากับ 300 mH เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดเท่ากับ 6 A ค่าพลังงานแม่เหล็ก (magnetic stored energy) ที่สะสมอยู่ในระบบมีค่าเท่าใด

3 : 5.4 J

ข้อที่ 205 : หม้อแปลงแรงดัน (voltage transformer: VT) ที่มีอัตราส่วน (ratio) 2000 : 120 V ต่อกับ มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า (voltmeter) 120 V ถ้ามีแรงดันไฟฟ้าด้านปฐมภูมิ (primary voltage) ของ VT เท่ากับ 1200 V แรงดันไฟฟ้าที่มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าจะมีค่าเท่าใด

3 : 72 V

ข้อที่ 46 : วงจรแม่เหล็กหนึ่งมีค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) เท่ากับ 1500 A.turn/wb ประกอบด้วยขดลวดพันอยู่จำนวน 200 turns ถ้าขดลวดถูกป้อนจากแบตเตอรี่ 24 V มีกระแสป้อนเข้าในสภาวะคงตัวเท่ากับ 3 A จงหาค่ากำลังที่สูญเสียในขดลวด (copper loss) มีค่าเท่าใด

3 : 72 W

ข้อที่ 95 : เครื่องจักรกลไฟฟ้า (electrical machines) ในข้อใดสนามแม่เหล็กอยู่กับที่

3 : DC motor

ข้อที่ 177 : การนำเอาหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส 3 ตัวมาต่อเป็นหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส การต่อแบบใดที่สามารถนำหม้อแปลงไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งออก โดยที่หม้อแปลงสองตัวที่เหลือยังคงทำหน้าที่เป็นหม้อแปลง 3 เฟสได้ แต่พิกัดกำลังจะลดลงเหลือประมาณ 58%

3 : Delta - Delta

ข้อที่ 216 : จากรูปเป็นการต่อหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟสแบบใด

3 : Delta - Star

ข้อที่ 174 : ในการต่อหม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟสแบบใด ที่เป็นการต่อแบบแปลงแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น หากใช้หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสที่มีอัตราส่วน 1 : 1 และมีขนาดพิกัด และคุณสมบัติเหมือนกันจำนวน 3 ชุด

3 : Delta-Star

ข้อที่ 18 : แรงดัน (voltage) ในวงจรไฟฟ้าเปรียบเหมือนข้อใดในวงจรแม่เหล็ก

3 : Magnetomotive force

ข้อที่ 23 : อากาศ (air) จัดเป็นวัสดุแม่เหล็กประเภทใด

3 : Paramagnetic material

ข้อที่ 129 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงสามารถแบ่งตามลักษณะการกระตุ้นสนามแม่เหล็กได้ 2 ลักษณะคือ

3 : Self excited and separately excited

ข้อที่ 86 : ตัวแปรใดไม่มีผลต่อสมการแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (electromotive force) ในเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง

3 : กระแสอาร์มาเจอร์ (armature current)

ข้อที่ 165 : ถ้าต้องการลดความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC motor) โดยวิธี Regenerative braking ในย่านความเร็วต่ำกว่าพิกัด วิธีการใดจึงจะเหมาะสม

3 : กลับทิศทางของกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding)

เนื้อหาวิชา : 43 : AC machines construction ข้อที่ 221 : การต่อขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสสามเฟสกับระบบไฟฟ้า (synchronization) ข้อใดที่กล่าวไม่ถูกต้อง

3 : การตรวจสอบแบบ One-dark Two-bright ถ้าหลอดไฟมีลักษณะที่ดับ 1 ดวงและสว่าง 2 ดวง สลับกันไปตลอดเวลาแสดงว่าลำดับเฟสตรงกันแต่ความถี่ไม่เท่ากัน

ข้อที่ 186 : การต่อหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟสแบบใดที่ทำให้เกิดแรงดันฮาร์มอนิกลำดับที่ 3 ในขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า

3 : การต่อขดปฐมภูมิและขดทุติยภูมิแบบสตาร์ไม่มีสายนิวทรอล

ข้อที่ 180 : คุณลักษณะของ Two winding transformer กับ Autotransformer ข้อใดถูกต้อง

3 : ขดลวดปฐมภูมิ และทุติยภูมิของ Two winding transformer แยกจากกันทางไฟฟ้า

ข้อที่ 178 : ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบที่สำคัญของหม้อแปลงไฟฟ้า

3 : ขดลวดโรเตอรเลย์

ข้อที่ 185 : ถ้านำหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีพิกัดความถี่ 60 Hz มาทำงานที่ความถี่ 50 Hz ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง

3 : ควรลดแรงดันไฟฟ้าป้อนเข้าหม้อแปลงไฟฟ้า 16.67 % จากพิกัดเดิม

ข้อที่ 63 : มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสที่มีจำนวนขั้วเท่ากับ 6 poles ใช้กับไฟความถี่ 50 Hz และมีค่าสลิป (slip) ในขณะที่พิจารณาเท่ากับ 4% ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุนที่เกิดจากสเตเตอร์ และโรเตอร์ มีค่าตรงกับข้อใด

3 : ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุน 1000 rpm ความเร็วของโรเตอร์ 960 rpm

ข้อที่ 121 : ส่วนใดของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรงที่ทำหน้าที่เหมือนกับเรคติไฟเออร์ (rectifier)

3 : คอมมิวเตเตอร์ (commutator)

ข้อที่ 5 : ถ้ากำหนดให้ค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) ของวงจรแม่เหล็กมีค่าคงที่ ค่าความเหนี่ยวนำ (inductance) ของวงจรแม่เหล็กจะมีค่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อจำนวนรอบของขดลวดลดลง 3 เท่า

3 : ค่าความเหนี่ยวนำลดลง 9 เท่า

ข้อที่ 24 : นิยามของตัวเหนี่ยวนำ (inductor) คือข้อใด

3 : ค่าเส้นแรงแม่เหล็กทั้งหมดที่เกี่ยวคล้องในขดลวดหารด้วยกระแสไฟฟ้า

ข้อที่ 27 : วงจรแม่เหล็ก (magnetic circuit) วงจรหนึ่งมีช่องอากาศ (air gap) 1 ช่อง ถ้าเพิ่มช่องอากาศให้มีค่าเพิ่มขึ้น เป็น 2 เท่า ค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) มีค่าเป็นอย่างไร

3 : ลดลงเป็น 1/2 เท่า

ข้อที่ 87 : ผลของการพันขดลวดแบบพิทช์ระยะสั้น (short pitch winding) ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ คืออะไร

3 : ลดฮาร์โมนิกส์ของแรงดันไฟฟ้า

ข้อที่ 161 : การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงวิธีใดให้ประสิทธิภาพต่ำสุด

3 : วิธีการปรับความต้านทานภายนอกที่ต่ออนุกรมกับขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding)

ข้อที่ 104 : การเกิดปฏิกิริยาอาร์มาเจอร์ หรืออาร์มาเจอร์รีแอคชัน (armature reaction) มีผลอย่างไรกับเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสตรง (DC machine)

3 : สนามแม่เหล็กของขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) ลดลง

ข้อที่ 39 : ขดลวดพันบนแกนอากาศ 50 turns มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 2 A จะต้องทำอย่างไร ถ้าต้องการให้แรงเคลื่อนแม่เหล็ก (magnetomotive force) เพิ่มขึ้น

3 : เพิ่มกระแสไฟฟ้า

ข้อที่ 59 : จากหลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หากป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวดที่วางอยู่ภายใต้ สนามแม่เหล็กที่กระจายสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดแรงบิด (torque) หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (electromotive force) และเป็นหลักการของเครื่องจักรไฟฟ้าประเภทใด

3 : แรงบิด, มอเตอร์

ข้อที่ 222 : ตัวเลือกใดเป็นส่วนที่อยู่ในมอเตอร์เหนี่ยวนำ (induction motor)

3 : โรเตอร์แบบกรงกระรอก (squirrel cage rotor)

ข้อที่ 136 : แปรงถ่านและซี่คอมมิวเตเตอร์ (brush and commutator) ในมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงมีความสำคัญอย่างไร

3 : ใช้ป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวดอาร์เมเจอร์ (armature winding) บนโรเตอร์

ข้อที่ 43 : วัสดุแม่เหล็กชนิด Cast iron ที่ค่าความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density) เท่ากับ 0.5 T มีค่าความเข้มสนามแม่เหล็ก 1000 A.turn/m วัสดุแม่เหล็กมีค่าความซึมซาบแม่เหล็ก (permeability) เท่าใด

4 : 0.0005 H/m

ข้อที่ 53 : วงจรแม่เหล็ก วงจรหนึ่งมีค่าความเหนี่ยวนำ (inductance) เท่ากับ 0.01 H ถ้าเพิ่มจำนวนรอบของขดลวดขึ้นสามเท่า ความเหนี่ยวนำ (inductance) ของวงจรแม่เหล็กมีค่าเท่าใด

4 : 0.09 H

ข้อที่ 12 : ขดลวดแกนอากาศขดหนึ่งมี 5 turns เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 2.5 A เกิดเส้นแรงแม่เหล็กภายในขดลวด 0.1 Wb ความเหนี่ยวนำ (inductance) ของขดลวดมีค่าเท่าใด

4 : 0.2 H

ข้อที่ 110 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงชนิดกระตุ้นสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองแบบขนาน (shunt DC generator) มีความต้านทานขดลวดสนาม (field winding) มีค่าเท่ากับ 60 ohm ขณะที่จ่ายภาระไฟฟ้า 6 kW ที่แรงดันไฟฟ้า 120 V พบว่าแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำมีค่าเป็น 133 V จงหาค่าความต้านทานของขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature winding resistance) มีค่าเท่าใด

4 : 0.25 ohm

ข้อที่ 13 : วงจรแม่เหล็กหนึ่งมีค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) 1500 A.turn/Wb ประกอบด้วยขดลวดพันอยู่จำนวน 200 turns ถ้าขดลวดนี้ได้รับกระแสไฟฟ้า 3 A จากแบตเตอรี่ 24 V จงหาค่าเส้นแรงแม่เหล็กที่ไหลอยู่ในวงจรแม่เหล็ก และค่าความต้านทานของขดลวด

4 : 0.4 Wb, 8 ohm

ข้อที่ 7 : วงจรแม่เหล็กดังรูป กำหนดให้ค่าความซึมซาบแม่เหล็กสัมพัทธ์ (relative permeability) ของแกนเหล็ก เท่ากับ 10,000 พื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็กและช่องอากาศเท่ากับ 0.0025 sq.m ให้คำนวณหาค่าความเหนี่ยวนำ (inductance)

4 : 0.623 H

ข้อที่ 188 : ถ้าป้อนแรงดันไฟฟ้า 400 V, 50 Hz ให้กับหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีพิกัด 400 V, 60 Hz อยากทราบว่าจำนวนเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux) ในแกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้า ขณะป้อนแรงดันไฟฟ้าความถี่ 50 Hz มีค่าเป็นกี่เท่าของค่าพิกัดที่ใช้งานที่ความถี่ 60 Hz

4 : 1.2 เท่า

ข้อที่ 146 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงมีพิกัด 400 V, 10 A, 1500 rpm ความต้านทานขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature resistance) 2 ohm จงคำนวณหาค่ากระแสสตาร์ท (starting current) ในสภาวะที่ขณะสตาร์ทจ่ายแรงดันไฟฟ้าครึ่งหนึ่งของพิกัดแรงดันไฟฟ้า

4 : 100 A

ข้อที่ 99 : จากการพันขดลวดอาร์มาเจอร์สามเฟส (three phase armature winding) แบบสองชั้น (double layer) ที่มี 12 slots, 4 poles มีจำนวนรอบของขดลวดแต่ละขดเท่ากับ 25 turns ให้คำนวณหาจำนวนรอบของขดลวดในแต่ละเฟส

4 : 100 turns

ข้อที่ 189 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W หม้อแปลงไฟฟ้านี้มีความสูญเสียรวมเท่าใด

4 : 1015 W

ข้อที่ 84 : มอเตอร์เหนี่ยวนำตัวหนึ่งขณะใช้งานเต็มพิกัดที่ความถี่ 50 Hz หมุนด้วยความเร็ว 920 rpm เมื่อถูกนำไปใช้งานที่ความถี่ 60 Hz มอเตอร์เหนี่ยวนำจะมีความเร็วซิงโครนัส (synchronous speed) เท่าใด

4 : 1200 rpm

ข้อที่ 108 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง พิกัด 5 HP แรงดัน 120 V ความเร็วที่พิกัด 1750 rpm พบว่าถ้ามอเตอร์ขับภาระทางกลเต็มพิกัดจะมีค่า speed regulation เท่ากับ 4% จงหาความเร็วของมอเตอร์ขณะไม่ขับภาระทางกล (no load) มีค่าเท่าใด

4 : 1820 rpm

ข้อที่ 100 : จากการพันขดลวดอาร์มาเจอร์สามเฟส (three phase armature winding) แบบสองชั้น (double layer) ที่มี 24 slots, 4 poles มีจำนวนรอบของขดลวดแต่ละขดเท่ากับ 25 turns ให้คำนวณหาจำนวนรอบของขดลวดในแต่ละเฟส

4 : 200 turns

ข้อที่ 211 : ในสภาวะไม่มีภาระ ถ้าหม้อแปลงไฟฟ้า 1 เฟส มีแรงดันไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสลับป้อนเข้า 220 V ใช้กำลังไฟฟ้า 300 W ถ้าแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนเข้าสู่หม้อแปลงไฟฟ้าลดลงเหลือ 198 V จะใช้กำลังไฟฟ้าเท่าใด

4 : 243 W

ข้อที่ 140 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงพิกัด 230 V, 27.5 A ขณะทำงานที่พิกัดมีความเร็วรอบ 1750 rpm มีค่าความต้านทานขดลวดอาร์มาเจอร์ (armature resistance) 0.8 ohm ให้คำนวณหากระแสขณะสตาร์ทเมื่อไม่มีการเพิ่มค่าความต้านทานภายนอก

4 : 287.5 A

เนื้อหาวิชา : 42 : Theory and analysis of single phase and three phase transformers ข้อที่ 168 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส ขนาด 6300/210 V, 50 Hz มีค่าอัตราส่วนจำนวนรอบ (turn ratio) เท่ากับเท่าใด

4 : 30

ข้อที่ 196 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสขนาด 150 kVA, 5000/250 V, 50 Hz มีผลการทดสอบดังนี้ Open circuit test: 250 V, 5.5 A, 205 W และ Short circuit test: 72 V, 30 A, 810 W เมื่อพิจารณาทางด้านแรงดันต่ำ ค่าความต้านทานความสูญเสียแกนเหล็ก (core loss resistance: Rc) มีค่าเท่าใด

4 : 304.89 ohm

ข้อที่ 204 : มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า (ammeter) 5 A ต่อกับหม้อแปลงกระแส (current transformer: CT) ที่มีอัตราส่วน (ratio) 500 : 5 A ถ้ากระแสไฟฟ้าด้านปฐมภูมิ (primary current) ของ CT เท่ากับ 400 A กระแสไฟฟ้าที่มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าจะมีค่าเท่าใด

4 : 4 A

ข้อที่ 8 : แกนเหล็กมีความยาวเฉลี่ย 1.60 m พื้นที่หน้าตัด 0.01 sq.m ถ้าขาด้านซ้ายของแกนเหล็กมีขดลวดพันจำนวน 200 turns และมีค่าความซึมซาบแม่เหล็กสัมพัทธ์ (relative permeability) เท่ากับ 2500 จงหาค่าความต้านทานแม่เหล็ก (magnetic reluctance) ของแกนเหล็ก เมื่อ

4 : 50,955 A.turn/Wb

ข้อที่ 212 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสพิกัด 50 kVA, 7200 V/208 V, 50 Hz หม้อแปลงไฟฟ้านี้มีพิกัดกระแสไฟฟ้าด้านแรงดันสูงเท่าใด

4 : 6.9 A

ข้อที่ 128 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC generator) มีค่าแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขณะไร้ภาระทางไฟฟ้า 120 V มีความเร็วรอบ 1500 rpm จงคำนวณหาค่าแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้านี้มีความเร็วรอบ 1000 rpm โดยกำหนดให้กระแสสร้างสนามแม่เหล็ก (field current) มีค่าคงที่

4 : 80 V

ข้อที่ 206 : หม้อแปลงไฟฟ้าในอุดมคติพิกัด 2200/110 V, 50 Hz ภาระทางไฟฟ้าด้านทุติยภูมิมีค่าเท่ากับ 20 ohm ดังรูป เมื่อจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับภาระที่พิกัด 110 V ให้หาค่าอิมพิแดนซ์ของภาระ (load impedance) เมื่อพิจารณามาอยู่ทางด้านปฐมภูมิ (primary)

4 : 8000 ohm

ข้อที่ 202 : หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส มีอัตราส่วนของด้านแรงดันสูง:ด้านแรงดันต่ำเท่ากับ 2:1 ค่าอิมพีแดนซ์รวมของหม้อแปลงเป็นดังรูป ถ้าแรงดันไฟฟ้าด้านแรงสูง (V1) เท่ากับ 200 V และกระแสไฟฟ้า (I1) เป็นดังรูป แรงดันไฟฟ้าด้านแรงต่ำ (V2) มีค่าเท่าใด

4 : 98.95 | 416.7 A

ข้อที่ 130 : ส่วนประกอบใดที่ไม่ใช่ส่วนประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง

4 : Damper winding

ข้อที่ 17 : เมื่อกระตุ้นแกนเหล็กด้วยแรงเคลื่อนแม่เหล็ก (magnetomotive force: MMF) กับวัสดุแม่เหล็กชนิดเฟอร์โร (ferromagnetic material) ปรากฏว่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux) กับความเข้มสนามแม่เหล็ก (magnetic field intensity) ในช่วงเพิ่ม และลดแรงเคลื่อนสนามแม่เหล็กมีค่าไม่เท่ากัน ปรากฏการณ์นี้ตรงกับตัวเลือกในข้อใด

4 : Hyteresis

ข้อที่ 90 : การพันขดลวดในร่องสล็อตอาร์มาเจอร์ของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้แก่อะไร

4 : Lap winding and wave winding

ข้อที่ 82 : มอเตอร์ชนิดใดเหมาะสมที่สุดสำหรับงานที่ต้องการแรงบิดสูงที่ความเร็วรอบต่ำ

4 : Series DC motor

ข้อที่ 64 : ข้อใด เป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ของแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced voltage) ที่เกิดขึ้นบนลวดตัวนำยาว l m ภายใต้สนามแม่เหล็กที่มีค่าความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก (magnetic flux density) เท่ากับ B T และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสัมพันธ์เท่ากับ u m/s

4 : e = Blu sin 0

ข้อที่ 164 : ข้อใดไม่ใช่วิธีการควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

4 : กลับขั้วของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding)

ข้อที่ 149 : ข้อใดไม่ใช่วิธีการลดค่ากระแสเริ่มต้นหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

4 : การเพิ่มแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ขณะเริ่มต้นหมุน

ข้อที่ 36 : แรงเคลื่อนแม่เหล็ก (magnetomotive force) ของขดลวด ขึ้นอยู่กับตัวเลือกในข้อใด

4 : ขนาดกระแสไฟฟ้า

ข้อที่ 120 : ข้อใดไม่ใช่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง (DC machines)

4 : ความสูญเสียความถี่ (frequency loss)

ข้อที่ 213 : ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

4 : ความสูญเสียรวมในหม้อแปลงไฟฟ้าคือ กำลังไฟฟ้าที่ได้จากการคำนวณของค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นในขดลวดทั้งด้านปฐมภูมิและด้านทุตติยภูมิ

ข้อที่ 85 : ตัวแปรใดไม่มีผลต่อสมการแรงบิด (torque) ในเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง

4 : ความเร็วที่โรเตอร์ (rotor speed)

ข้อที่ 49 : ถ้าเพิ่มจำนวนรอบของขดลวดขึ้นสองเท่า จะทำให้ค่าความเหนี่ยวนำ (inductance) มีค่าตรงกับข้อใด

4 : ความเหนี่ยวนำเพิ่มขึ้น 4 เท่า

ข้อที่ 51 : ถ้าเพิ่มความกว้างของช่องอากาศ (air gap) ของวงจรแม่เหล็ก โดยกระแสไฟฟ้าที่ไหลในขดลวดมีค่าคงที่ ข้อใดถูกต้อง

4 : ค่าพลังงานที่สะสมในรูปสนามแม่เหล็กมีค่าลดลง

ข้อที่ 35 : การหาขั้วแม่เหล็กของขดลวด พิจารณาได้จากข้อใด

4 : ทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า

ข้อที่ 119 : แรงบิดที่ได้จากเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง (DC machines) ไม่ขึ้นกับองค์ประกอบข้อใด

4 : น้ำหนัก (weight)

ข้อที่ 210 : ข้อใดไม่ใช่จุดเด่นของ Autotransformer เมื่อเปรียบเทียบกับ Two winding transformer

4 : น้ำหนักหม้อแปลงต่อค่าพิกัดกำลังไฟฟ้าของหม้อแปลงมาก

ข้อที่ 160 : การควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงสามารถทำได้หลายวิธียกเว้นข้อใด

4 : ปรับความถี่ของแหล่งจ่ายไฟป้อนเข้า

เนื้อหาวิชา : 40 : Starting methods for dc motor ข้อที่ 139 : ข้อใดทำให้เกิดความเสียหายกับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ขณะทำการสตาร์ทมอเตอร์

4 : ปลดขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) ขณะทำการสตาร์ท และต่อกลับในภายหลัง

ข้อที่ 125 : มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบใดให้ความเร็วรอบสูงขึ้น ขณะภาระทางกลมีค่ามากขึ้น

4 : มอเตอร์กระแสตรงชนิดกระตุ้นสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองแบบขดลวดผสม ที่ต่อขดลวดสร้างสนามแบบหักล้างกัน (differential compound DC motor)

ข้อที่ 224 : มอเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับในข้อใดที่ไม่เกิดสนามแม่เหล็กหมุนจากขดลวดสเตเตอร์

4 : มอเตอร์ยูนิเวอร์แซล (universal motor)

ข้อที่ 181 : การใช้หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส มีลักษณะที่ดีกว่าการใช้หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส 3 ตัวมาต่อร่วมกันอย่างไร

4 : มีคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า 1 ข้อ

ข้อที่ 155 : ตัวเลือกใดเป็นวิธีการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

4 : มีคำตอบมากกว่า 1 ข้อ

ข้อที่ 166 : ถ้าต้องการเพิ่มความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC motor) ในย่านความเร็วสูงกว่าพิกัด วิธีการในข้อใดจึงจะเหมาะสม

4 : ลดกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding)

ข้อที่ 167 : ถ้าต้องการเพิ่มความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก (separately excited DC motor) เป็น 2 เท่าของพิกัดความเร็ว วิธีการในข้อใดจึงจะเหมาะสม (กำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสกับสนามแม่เหล็กที่เกิดจากขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) เป็นแบบเชิงเส้น)

4 : ลดกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (field winding) ลงเหลือครึ่งหนึ่งของพิกัด

ข้อที่ 69 : เมื่อค่าความเข้มสนามแม่เหล็กของวงจรแม่เหล็กชนิดหนึ่ง ลดลงเหลือครึ่งหนึ่งจากค่าเดิม โดยค่าค่าความซึมซาบแม่เหล็ก (permeability) ยังคงมีค่าเท่าเดิม ค่าความหนาแน่นของพลังงาน (energy density) จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

4 : ลดลงเหลือ 1/4 เท่าของค่าเดิม

ข้อที่ 61 : หลักการของเครื่องจักรกลไฟฟ้า จะมีสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสเตเตอร์และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากโรเตอร์ หากสนามแม่เหล็กของสเตเตอร์หมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ขณะที่เครื่องจักรกลไฟฟ้ากำลังทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จงหาทิศทางของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากโรเตอร์ และทิศของแรงบิดที่เกิดจากสนามแม่เหล็ก

4 : สนามแม่เหล็กโรเตอร์หมุนทวนเข็ม แต่ทิศทางของแรงบิดหมุนตามเข็ม

ข้อที่ 187 : หม้อแปลงไฟฟ้า 1 เฟส 10 kVA มีกำลังสูญเสียในแกนเหล็ก (core loss) 50 W และมีกำลังสูญเสียในขดลวด (copper loss) ที่กระแสเต็มพิกัด 200 W จากตัวเลือกที่กำหนด ข้อใดทำให้หม้อแปลงไฟฟ้านี้มีประสิทธิภาพสูงสุด

4 : หม้อแปลงไฟฟ้าจ่ายภาระที่ 80 % ของพิกัดภาระ

ข้อที่ 33 : วัสดุในข้อใด เป็นวัสดุแม่เหล็กแบบ Paramagnetic material

4 : อากาศ (air)

ข้อที่ 118 : แรงดันไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง (DC machine) ไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบข้อใดของเครื่องจักรกล

4 : อุณหภูมิ (temperature)

ข้อที่ 127 : เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรงแบบใด ไม่ต้องใช้แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงจากภายนอก จ่ายให้กับเครื่องจักร หรือสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับตัวเองได้ (self-power) โดยไม่ต้องใช้แหล่งจ่ายจากภายนอก

4 : เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงชนิดกระตุ้นสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองแบบขนาน (shunt DC generator)

ข้อที่ 16 : เหตุใด แกนเหล็กของอาร์มาเจอร์ (armature core) ใน DC machine จึงต้องเป็นแท่งอัดจากแผ่นเหล็กบางอาบฉนวน

4 : เพื่อลดความสูญเสียเนื่องจากกระแสวน (eddy current loss)

ข้อที่ 102 : เกี่ยวกับเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

4 : เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจ่ายภาระไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แรงดันไฟฟ้าที่ขั้วของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมีค่าคงที่

ข้อที่ 162 : ข้อใดไม่มีผลต่อการปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

4 : ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่ 169 : ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

4 : ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่ 75 : วงจรแม่เหล็กวงจรหนึ่งขดลวดมีเส้นแรงแม่เหล็กเกี่ยวคล้อง (flux linkage) เท่ากับ กระแสไหลผ่านขดลวดเท่ากับ และขดลวดมีค่าความเหนี่ยวนำตัวเอง (self-inductance) เท่ากับ ค่าพลังงานสะสมในสนามแม่เหล็ก (magnetic stored energy) มีค่าเท่าใด

Li^2 / 2


Set pelajaran terkait

Human Resource Management Chapter 2

View Set

Biology 1001 Chapters 7-10 Power Point questions

View Set

Cognitive Test 3 Review Questions

View Set

AP Environmental Science Review Worksheet

View Set

American Politics Exam 3 Review Quiz

View Set

Human Communication 1100 Test 1 Revel Questions

View Set

Academic Team Full Practice Set 1

View Set

Business data networks and security chapter 2

View Set